สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โชว์ผลงานเด่น ประจำปี 2562 และผลงานวิจัยที่พัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม พร้อมเผยทิศทางการวิจัยและพัฒนาในปี 2563 เน้นตอบโจทย์ BCG มุ่งสู่ประเทศไทย 4.0
ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. เปิดเผยว่า วช. ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานขับเคลื่อน และบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของอว. ในด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์
ท้าทายของสังคม
การพัฒนาเชิงพื้นที่ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลสัมฤทธิ์ มีผลการดำเนินงานที่เกิดการตอบสนองสูงต่อเศรษฐกิจและสังคม มีการริเริ่มงานใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ปัญหาสำคัญของประเทศ โดย วช. มีความพร้อมและยกระดับการทำงานตามภารกิจใหม่ด้วย
หลัก วช. 5G เป็นส่วนราชการที่มีประสิทธิภาพสูง รวดเร็ว คล่องตัว พร้อมขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม
บทบาท PMU ในการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม
PMU เป็นกลไลสำคัญในการบริหารงบประมาณการวิจัยและนวัตกรรม ตามยุทธศาสตร์ ววน. ซึ่งประกอบด้วย
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือสนช. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และหน่วยบริหารจัดการทุนภายใต้
สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประทศ (บพข.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะการให้ทุนเท่านั้น
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงระบบในการบริหารจัดการทุนในปัจจุบัน และที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ถือเป็นมิติใหม่ของการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม เป็นแบบ Streamline Process คือ ใช้ระบบ Online 100% มีกลไก Outcome Delivery Units (OUD) เชื่อมโยงการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวง
ที่สำคัญ เป็นการให้ทุนแบบ Program Funding และ Matching fund กับภาคเอกชน รวมถึงมีการติดตาม ประเมินผล โดยทุกภารกิจมีการเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน
นอกจากการบริหารงบประมาณการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศแล้ว การพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ได้มีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยฯ ที่ตอบเป้าหมายประเทศ มีกลไกการสร้างแรงจูงใจ
ทั้งในเชิงการให้รางวัลแก่นักวิจัยในทุกช่วงวัย ตั้งแต่นักวิจัยรุ่นเยาว์ นักวิจัยรุ่นใหม่ นักวิจัยรุ่นกลาง และนักวิจัยอาวุโส โดยมุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนนักวิจัยไม่น้อยกว่า 25 คน ต่อประชากร 10,000 คน ในปี 2564 และ 60 คน ต่อ 10,000 คน ในปี 2579
ศ.นพ.สิริฤกษ์ กล่าวว่าฐานข้อมูลกลางการวิจัยของประเทศ วช. พร้อมเป็นศูนย์กลางข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมระดับชาติและนานาชาติกับระบบสารสนเทศของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนพัฒนาระบบประมวลผลอัจฉริยะ และ Artificial Intelligent (AI) ที่สามารถแสดงผลได้ทุกมิติในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและสนับสนุน การตัดสินใจเชิงบริหาร และการใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อตอบสนองต่อการปฏิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแผนการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกต่อใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย
การดำเนินงานระบบข้อมูลสารสนเทศกลางด้าน ววน. ในปีงบประมาณ 2562 ได้มีการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางข้อมูลวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยการกำหนด Road Map และ Time line ในการดำเนินงาน รวมถึงมาตรฐานและชุดข้อมูลเพื่อการเชื่องโยง และออกแบบระบบฐานข้อมูลกลางและระบบให้บริการข้อมูล โดยคาดหวังว่าเมื่อศูนย์กลางข้อมูล ววน. ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์จะเกิดประโยชน์
ต่อประชาคมในระบบวิจัย
วิจัยไทยใช้ได้จริง
อีกทั้ง วช. ได้สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาของประเทศไทยได้ อาทิ
โครงการธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” โดยการขับเคลื่อนแผนบูรณาการให้เกิดการวิจัยและนวัตกรรมรวมถึงการขยายผลธนาคารปูม้าไปสู่ชุมชน สามารถเพิ่มทรัพยากรในทะเลให้มากขึ้น ทำให้ชาวประมงมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีการขยายผลธนาคารปูม้าไปแล้วจำนวน 531 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนชายฝั่ง 20 จังหวัด
ทั้งนี้ ระบบข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเบ็ดเสร็จ เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า) เครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กับกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดทำ โครงการPlatform ที่มีการตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ที่มีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นมาตราฐานเดียวกัน
ปรัชญา รัศมีธรรมกุล รายงาน