‘พาณิชย์’ลุยกาแฟภาคเหนือ ติวเข้มเกษตรกรรุกสู้เอฟทีเอ

วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

“วีรศักดิ์” สั่งการกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือกระทรวงเกษตรฯ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาคมกาแฟไทย ขึ้นเหนือช่วยเกษตรกรและผู้ประกอบการยกระดับกาแฟไทย พร้อม สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ จังหวัดเชียงใหม่

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศร่วมมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาคมกาแฟไทย ติวเข้มเกษตรกร และผู้ประกอบการกาแฟภาคเหนือ เพื่อใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี หรือเอฟทีเอ ระหว่างวันที่ 19 – 20 มกราคม 2563 ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อพบปะเกษตรกรและผู้ประกอบการกาแฟภาคเหนือ ช่วยพัฒนาคุณภาพกาแฟไทย สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่ค้าที่ไทยมีเอฟทีเอ ด้วยส่วนใหญ่ได้ยก เลิกการเก็บภาษีศุลกากรเมล็ดกาแฟดิบ กาแฟคั่วและกาแฟสาเร็จรูปให้ไทยแล้ว

ด้านนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา กรมฯได้ลง พื้นที่พบปะเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟและผู้ประกอบการตลอดห่วงโซ่การผลิต ณ ตำบลเทพเสด็จ อาเภอดอยสะเก็ด และ ในวันที่ 20 มกราคม จะจัดสัมมนาให้เกษตรกรและกลุ่มผู้ประกอบการกาแฟภาคเหนือ ณ ศูนย์การเรียนรู้ เดอะ คอฟฟีเนอรี่ เรื่องการสร้างอัตลักษณ์และพัฒนายกระดับคุณภาพกาแฟไทยให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และขยายตลาดส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ซึ่งกรมได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกาแฟ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ตลอดจนโรงคั่วกาแฟเข้าร่วมด้วย

นางอรมน กล่าวว่า ปัจจุบันการบริโภคกาแฟของโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2562 ความ ต้องการบริโภคกาแฟอยู่ที่ 9.83 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 และปี 2561 ท่ีมีปริมาณ 9.23 และ 9.57 ล้านตันต่อปี เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.1 ต่อปี เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมกาแฟไทยที่เติบโตไปในทิศทางเดียวกับกาแฟโลก โดยในช่วงปี2558– 2562ปริมาณความต้องการใช้เมล็ดกาแฟของโรงงานแปรรูปในไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ6.21 ต่อปี หรือเฉลี่ยที่ 78,953 ตันต่อปี

อย่างไรก็ตามในขณะที่ไทยสามารถผลิตเมล็ดกาแฟดิบได้เฉลี่ย 24,713 ตันต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อความต้องการใช้ในประเทศ จึงยังต้องนำเข้าวัตถุดิบเพื่อแปรรูปบริโภคในประเทศและส่งออก โดยท่ีผ่านมา ส่วนใหญ่ไทยนำเข้ากาแฟจากอาเซียน อาทิ เวียดนาม ร้อยละ 92 สปป.ลาว ร้อยละ 7 และอินโดนีเซียร้อยละ 0.3โดยเก็บภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบท่ีร้อยละ 5 และยกเว้นการเก็บภาษีสำหรับเมล็ดกาแฟคั่ว

นอกจากนี้ เนื่องจากไทย และออสเตรเลียได้ยกเลิกภาษีศุลกากรสินค้ากาแฟและผลิตภัณฑ์กาแฟระหว่างกันแล้ว ภายใต้ความตกลงไทย – ออสเตรเลีย โดยการยกเลิกภาษีของไทยจะมีผลต้ังแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

ขณะที่ออสเตรเลียยกเลิกภาษีให้ไทย แล้วตั้งแต่ความตกลงมีผลบังคับใช้ ในปี 2548 จึงอาจมีผู้สนใจนำเข้าเมล็ดกาแฟคั่วจากออสเตรเลีย ซึ่งกรมฯ จะใช้ โอกาสนี้หารือผู้เกี่ยวข้องติดตามประโยชน์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นด้วย

ทั้งนี้ แม้การผลิตเมล็ดกาแฟดิบของไทยจะยังไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศ แต่หากเป็นการ ผลิตกาแฟสำเร็จรูปจะพบว่า ในช่วงปี 2559 – 2562 ไทยส่งออกกาแฟสาเร็จรูปเฉลี่ย 29,876 ตันต่อปี มูลค่า 3,560 ล้านบาท โดยมีตลาดส่งออกที่สาคัญ คือ สปป.ลาว ร้อยละ 24 เมียนมา ร้อยละ 29 กัมพูชา ร้อยละ 18 ฟิลิปปินส์ ร้อยละ 13 และจีน ร้อยละ 7 ซึ่งหากเทียบอันดับการส่งออกสู่ตลาดโลกแล้ว พบว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยติด อันดับ 1 ใน 10 ผู้ส่งออกกาแฟสำเร็จรูปของโลก โดยในปี 2561 ส่งออกไปโลก 28,473 ตันเป็นอันดับที่ 10 ของโลก

ปรัชญา รัศมีธรรมกุล รายงาน