“ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร” แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง
อริยะสงฆ์ล้านนา”ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร” แห่ง วัดพระธาตุดอนเรือง ผู้มีฌาณหยั่งรู้ด้วยจิตและบารมี
บันทึกเป็นตำนานไปแล้ว แถมที่โด่งดังไปทั่วโลก เมื่อ 13เยาวชนนักฟุตบอลและโค๊ช”หมูป่าอคาเดมี” เดินหายเข้าไปในถ้ำจนติดภายในถ้ำหลวงวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน-กรกฎาคม 2561 ซึ่งทั้งหมดไม่สามารถกลับออกมาได้เนื่องจากขณะนั้นมีฝนตกหนักและทำให้น้ำฝนไหลเอ่อเข้าท่วมตามเส้นทางภายในถ้ำ จากทั้งดอยผาหมีจากปากถ้ำรวมไปถึงรอยแยกบนเขาและสันเขาจนท่วมเอ่อบริเวณที่เป็นเหวและจุดต่ำสุดของถ้ำที่ทำให้ทั้ง 13 คน เดินทางออกมาไม่ได้
จนเป็นเหตุให้ต้องมีหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และชาวต่างชาติที่มีความรู้ในด้านกู้ภัยเข้ามาช่วยออกจากถ้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ จนมี”พระครูบาบุญชุ่มญาณสังวโณ แห่งวัดพระธาตุดอยเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา ได้จัดพิธีเปิดฟ้าเปิดดิน แผ่เมตตาช่วยให้ 13 ชีวิตรอดออกมาจากถ้ำได้สำเร็จ
ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่คุณธรรมและบารมีธรรมสูง ก่อนจะมาบวชเป็นพระภิกษุ เกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2508 แต่บางเอกสารว่าท่านเกิดในปี พ.ศ.2505 เกิดที่บ้านแม่คำหนองบัว ต.แม่คำ อ.แม่จัน เชียงราย ได้บวชเป็นสามเณรแล้วจึงบวชเป็นพระภิกษุในปี 2529 ท่านมีความชำนาญในพระกรรมฐาน เวลาที่ปลุกเสกท่านอธิฐานจิตในชั่วเวลาหายใจเข้าออกก็สำเร็วแล้ว
สำหรับวัตถุมงคลและเครื่องรางของท่านได้นับการกล่าวขานว่ามีอานุภาพเป็นที่เลื่องลือในหมู่คนไทย ชาวเขา ชาวพม่า และต่างชาติ ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระบาทเขารวก จ.พิจิตร และหลานปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งทั้ง 2 เกจิอาจารย์ ต่างยอมรับในคุณธรรมและบารมีธรรม
กิติศัพท์ของ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร ทำให้ทหารเมียนมารู้จักและเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวัตถุมงคลและเครื่องรางที่นำมาบูชาติดตัวเพื่อป้องกันตนจากการสู้รบ
ที่สำคัญ วัตถุมงคลของท่านมีเมตตามหานิยม แคล้วคลาด วัตถุมงคลจัดสร้างหลายรุ่น เหรียญที่จะเสนอเป็นรุ่นที่จัดได้ว่าเป็นเหรียญคลาสสิกเอามากๆ ชื่อดี มวลสารเข็ม พิธีขลัง คือ”เหรียญมหาลาภ” จัดสร้างขึ้นในปี 2521 สร้างขึ้นเนื่องในวันคล้ายวันเกิด วันที่ 5 มกราคม 2541 มีอายุครบ 35 ปี ขณะนั้นยังจำพรรษาอยู่ที่ “วัดพระธาตุดอนเรือง เหรียญนี้สร้างโดยกองกษาปณ์ กระทรวงการคลัง ประเทศไทย เหรียญนี้ต่อไปภายหน้าน่าจะเป็นเหรียญยอดนิยมเลยครับ
ปัจจุบันวัตถุมงคลของ” ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร”เป็นที่หมายปองของนักสะสมและศึกษา และก็เช่นกัน กับชายชื่อไพสนธ์ ดวงคำ หรือวงการเซียนพระรู้จักกันในนาม “สน เมืองน่าน” มี่มีเก็บไว้เกือบครบทุกรุ่น เขาเป็นนักสะสมและสะสมอย่างแท้จริง ซึ่งชาวเซียนพระต่างก็ทราบดี
“สน เมืองน่าน” ภูมิเดิมเป็นชาวจังหวัดน่าน ก่อนหน้านี้ก็ทำงานเป็นพนักงานโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน หลังจากเลิกงานหรือว่างจากงานก็ไปตามตลาดนัดพระเครื่องที่เปิดขึ้นในจังหวัดแล้วค่อยออกหาดูตามตลาดพระเครื่องจังหวัดแถบภาคเหนือ โดยเริ่มต้นจากการสะสมและศึกษา”พระกรุเมืองเหนือ ได้แก่ พระกรุลำพูน พระกรุพะเยา พระกรุเชียงใหม่ พระกรุเชียงราย พระกรุกำแพงเพชรและพระกรุน่านบ้านเกิด ที่มีชื่อเสียง กรุบ่อสวก ฯลฯ และพระเกจิอาจารย์ภาคเหนือ ได้แก่ ครูบาศรีวิชัย หลวงพ่อเกษม เขมโก ครูบาวัง ครูบาดวงดีครูบาทอง ครูบาบุญชุ่ม ครูบาสาย ฯลฯ วัตถุมงคลทั้งหลายเหล่าบางกรุบางรุ่นก็เริ่มจะหายากไม่มีหมุนเวียนที่จะแลกเปลี่ยนกันเพราะว่านับวันหายากมากขึ้นไปเรื่อยๆ วัตถุมงคลของครูบาบุญชุ่ม สน เมืองน่าน ก็ได้สะสมและศึกษามาตั้งแต่ท่านยังไม่มีชื่อเสียงโด่งไปทั่วโลก และมาวันนี้ใครรู้จักครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร ก็จะต้องรู้จัก สน เมืองน่าน ตอนนี้มีเก็บเกือบแทบทุกรุ่นเลยทีเดียว แต่ที่จะเสนอให้เห็นว่าเหรียญรุ่นนี้มีอนาคต”เหรียญมหาลาภ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร ปี2541″
สน เมืองน่าน สะสมและศึกษา วัตถุมงคล ของ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร ซึ่งใครหลายคนอาจมองว่าจะมีอนาคตหรือไม่ เปรียบเทียบเหมือนเป็นไก่ลองบ่อน แต่พอเกิดเหตุ 13 เยาวชนที่ติดอยู่และท่านได้เป็นผู้เปิดถ้ำให้ได้ออกมาทำให้ชื่อเสียงของ ครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร เป็นที่รู้จักกันทั้งประเทศ สน เมืองน่าน ได้กล่าวทิ้งไว้ว่า”การที่เรามีวัตถุมงคลและเครื่องรางไม่ว่าจะเป็นพระกรุหรือจะเป็นเครื่องรางในตัวเรานั้น” ต้องยึดมั่นในศีล 5 รู้คุณกตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้มีอุปการะคุณ สร้างคุณงามความดีไม่เบียดเบียนผู้อื่น สิ่งดีๆจะกลับมาสู่ตัวของเราเอง….. ครับ
ไพสนธ์ ดวงคำ หรือวงการเซียนพระรู้จักกันในนาม สน เมืองน่าน
“ในโลกจักวาลนี้…. ไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตามมาเหตุปัจจัยจงอุทิศชีวิตที่เหลืออยู่ด้วยความเป็นพุทธบูชาน้อมจิตภาวนาให้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนั้นมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไปนอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไร”เป็นบางตอนที่ครูบาบุญทุ่ม ณาญสังวโรท่านกล่าวไว้
เรื่อง/ภาพ โดย พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ