เจ้าพ่อพระกาฬ”พระโพธิสัตว์อวโรติเกศวร เทพปกป้องรักษาเมือง
จังหวัดลพบุรี หรือ เมืองละโว้ ในทางโบราณคดีรวมถึงเอกสารและจารึก กล่าวถึง”เมืองละโว้” ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีหลักฐาน คือพงศาวดารเหนือ กล่าวว่า”พระยากาฬวรรณดิศ” ได้ให้พราหมณ์ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ เมื่อ พ.ศ.1002
นอกจากนี้ “ตำนานชินกาลมาลีปรณ์” กล่าวถึงการสร้าง”เมืองหริภุญชัย” ใน พ.ศ.1024 ต่อมาอีก 2 ปี ในปี พ.ศ.1206 ได้ส่งทูตล่องน้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระไปปกครอง กษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทาน”พระนางจามเทวี” พระราชธิดา ให้ไปปกครองเมืองหริภุญชัย ทรงสร้าง” วัดจามเทวี” ที่เมืองหริภุญชัย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปรณ์เป็นที่ยอมรับว่าเมืองลพบุรี หรือ ละโว้ ในปัจจุบัน
สรุปเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง เมื่อเมืองอื่นๆยอมรับและขอเชื้อสายไปปกครองบ้านเมือง
เมืองละโว้ หรือ วปุระ หรือ ลพบุรี มีประวัติยาวนาน ประวัติศาสตร์มีมายาวนาน มีปรากฏร่องรอยการอาศัยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์และเป็นศูนย์กลางความเจริญของทวาราวดี ขอม อู่ทอง กรุงศรีอยุธยา มาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาเปลี่ยน”เมืองลพบุรี” หรือ “เมืองของพระลพ” ตามพระนามพระโอรสของพระราม ใน “มหากาพย์รามายณะ” ซึ่งเป็นเมืองที่มีอารยธรรมหลายสมัย จึงมีโบราณสถานและวัตถุโบราณที่ล้ำค่า หนึ่งในนั้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่ครั้งโบราณ คือ”ศาลพระกาฬ”
ศาลพระกาฬสถานที่ประดิษฐานเจ้าพ่อพระกาฬ
“ศาลพระกาฬ” สร้างขึ้นในสมัยขอมเรืองอำนาจ ครองเมืองละโว้ ได้สร้างศาลด้วยศิลาแลงซ้อนกันเป็นศาล เรียกอีกชื่อว่า”ศาลสูง” มีอายุในราวศตวรรษที่16 ที่ศาลพระกาฬถูกค้นพบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยม จารึกเป็นภาษามอญโบราณส่วนด้านหน้าศาลได้มีการสร้างในปี พ.ศ.2495 โดยสร้างเหนือฐานเดิมภายในประดิษฐาน”เทวรูปพระนารายณ์ปางประทับยืน” สร้างด้วยศิลาสององค์ องค์ใหญ่เศียรชำรุด มีพระวรกายสีดำ
ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดในสมัยนั้นได้นำมาปฏิสังขรณ์ได้นำเศียรพระพุทธรูปศิลาทรายสมัยอยุธยาสวมต่อเพื่อเป็นที่เคารพสักการะของชาวลพบุรี ปัจจุบันเจ้าพ่อพระกาฬไม่เหลือเค้าเดิม ถูกปิดด้วยทองคําเปลว
ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากราบไหว้ขอพรแก้บนทุกวัน
ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากราบไหว้ขอพรแก้บนทุกวัน”เจ้าพ่อศาลพระกาฬ”เป็นศิลปะลพบุรีสร้างขึ้นในคติมหายานที่เข้ามาเผยแพร่มายังเมืองละโว้สมัย”พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7″ ทำจากหินทราย มีลักษณะยืน มี 4 กร คล้ายกับพระวิษณุกรรม หรือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเจ้าพ่อพระกาฬ ถือเป็นเทพอารักษ์ประจำเมือง ในคำภีร์และจารึกโบราณปรากฏนาม “องค์พระกาฬไชยศรี” เป็นเทพที่ปกป้องรักษาเมืองเหมือนกับพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงฤทธิ์สามารถให้คุณให้โทษ และเป็นเทพแห่งความตาย ผู้คนจึงได้ยำเกรงและเคารพ ใครไปกราบไหว้สักการะถือได้ว่าเป็นสิริมงคลให้เกิดกับตนและให้ศัตรูยำเกรงไม่กล้าทำอันตราย
ตรงข้ามศาลพระกาฬ มีโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ คือ”พระปางสามยอด” เป็นปราสาทเขมรในศิลปะ”บายน” สร้างด้วยศิลาแลงประดับด้วยปูนปั้น สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ครองราชย์ พ.ศ.1724-1757 เพื่อเป็นพุทธสถานใน”ลัทธิวัชรยาน” ประจำเมือง ในขณะนั้นเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรกัมพูชา ภายในปราสาทประทานประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรกทรงเครื่อง
พระปางสามยอดอยู่ตรงข้ามศาลพระกาฬ
ปราสาททิศใต้ประดิษฐานรูปพระโลเกศวร(พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร)สี่กร และปราสาททิศเหนือประดิษฐานรูปนางปรัชญาปารมิตามีสองกร
พระปางสามยอดเป็นปราสาท 3 องค์เชื่อมต่อกันด้วยมุขกระสัน(อันตรละ)วางในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประสาทประทานมีความใหญ่กว่าอีก 2 องค์ วัสดุก่อสร้างนิยมใช้ศิลาแลง หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในกัมพูชาเทียมได้กับศาสนาประจำอาณาจักรภายใต้พระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 ว่าหลังครองราชย์ได้10 ปี ได้ทรงสร้างเทวรูปทำด้วยทองคำ เงิน สัมริด และศิลาเพื่อส่งไปพระราชทานยังเมืองต่างๆในราชอาณาจักรของพระองค์ไปประดิษฐาน ณ ตามเมืองต่างๆ ภายหลังได้เกิดการล่มสลายของศาสนาพุทธลัทธิวัชรยานในกัมพูชา
พระปางสามยอดจึงได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธสถานในนิกายเถรวาท เห็นได้จากการสร้างวิหารเชื่อมกับปราสาทประทานในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้สร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์และบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆในเมืองลพบุรีในช่วงระยะเวลาที่เสด็จแปรพระราชฐานมายังเมืองลพบุรีเกือบตลอดรัชกาล
ลิง บริวารเจ้าพ่อพระกาฬ
ศาลพระกาฬและพระปางสามยอด สองเทวสถานเป็นสถานที่ยึดเหี่ยวจิตใจของคนทั่วประเทศและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมาเข้ามากราบไหว้สักการบูชา และสถานที่ 2 แห่งนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าหมู่ลิงที่เป็นบริวารของเจ้าพ่อพระกาฬ กลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี
เจ้าพ่อพระกาฬ เป็นผู้ทรงฤทธิ์สามารถให้คุณให้โทษ ผู้ที่มาบูชาสักการะเจ้าพ่อพระกาฬถือว่าสร้างความเป็นสิริมงคลให้เกิดแก่ตนและครอบครัว ศัตรูยำเกรงไม่กล้าทำอันตราย ไม่มีโรคมีภัย เจริญก้าวหน้า มีทรัพย์สิน สำเร็จดั่งปรารถนา
เรื่อง/ภาพ โดย พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ