“หลวงพ่อ​โบ้ย​ วัดมะนาว” อริยสงฆ์​เมืองสุพรรณบุรี​ แคล้วคลาด​ คงกระพัน​ ป้องกันให้รอดพ้นภยันตราย​ทั้งปวง​

หลวงพ่อ​โบ้ย วัดมะนาว​ เกจิอาจารย์​ เมือง​สุพรรณบุรี​

เมืองสุพรรณบุรี​ มีความสำคัญ​มาตั้งแต่​สมัย​กรุงศรีอยุธยา​ ในฐานะเมือง​ลูก​หลวง​ สุพรรณบุรี​ เป็น​แหล่ง​ท่องเที่ยว​เชิงประวัติศาสตร์​ และเป็นจังหวัดที่มีเกจิอาจารย์​ที่ที่มีชื่อเสียง​ในวิชาอาคมสืบทอดกันมาครั้งแต่โบราณ​ทั้งที่ละสังขาร​ไปแล้ว​ และยังมีชีวิต​อยู่

ขอแนะนำพระ​เกจิอาจารย์​ที่ทิ้งไว้ในคุณงามความดี​และวัตถุ​มงคล​และเครื่องราง​ คือ​ หลวงพ่อ​โบ้ย​ วัดมะนาว​ ต.ทับตีเหล็ก​ อ.เมือง​ จ.สุพรรณบุรี

พระกำแพงศอก

วัด​มะนาวเดิมเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา​ ตั้งอยู่​ที่​ ต.ทับตีเหล็ก​ ริมถนน​สุพรรณ​-บางสาม​ หน้าวัดติดริมแม่น้ำสุพรรณบุรี​ ประวัติ​ หลวงพ่อ​โบ้ย​ ท่านเกิดที่​ บ้านสามหมื่น​ ต.บางปลาม้า​ อ.บางปลาม้า​ จ.สุพรรณบุรี​ เกิดในปีมะโรง​ พ.ศ.2435 พออายุได้​ 21 ปี​ จึงได้เข้าอุปสมบท​ที่​ วัดมะนาว​ ใน​ปี​ พ.ศ.2456 ได้จำพรรษาที่​วัดมะนาว​ เริ่มศึกษา​พระธรรม​วินัย​ ภาษาบาลีและ​ภาษาขอม​ ปฏิบัติ​ธรรม​อย่างเคร่งครัด​ ท่าน​ได้จำพรรษาที่วัดมะนาวได้​ 3​ พรรษา​

ต่อมาได้ไปศึกษา​หาความ​รู้​เพิ่มเติม​ เช่น​ พระธรรม​วินัย​ มงคลทีปนีมูลกัจจายนะ​ ภาษาบาลี​ และอักษรใหญ่​ ที่”วัดชีปะขาว” (วัดศรีสุดาราม)​ ธนบุรี​ หลวงพ่อ​ท่านไม่หยุดอยู่แค่นั้นได้ศึกษาต่อที่วัดอัมรินทร์​โฆสิตา​รามเป็นเวลา​ 8-9 ปีแล้วจึงกลับมาทีวัดมะนาว​

พิมพ์​ขุน​แผน​บ้าน​กร่าง​คู่

ในปี​ พ.ศ.2466 อยู่ได้ไม่นานท่านได้เดินทาง​ไป​หา” หลวงพ่อ​ปาน​ วัดบางนมโค”เพื่อต่อยอดในททางด้าน​วิปัสสนา​กรรมฐาน​ ศึกษาได้​ 1 ปีกลับมาวัดมะนาว​ เมื่อ​กลับมาวัดท่าน​ได้ปฏิบัติ​มุ่ง​บริการ​สังคม​ โดยมิหวัง​ผลตอบแทน​ใดๆทั้ง​สิ้นไม่รับปัจจัย​ทรัพย์สิน​เงินทอง​ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง​มีเมตตาธรรม​แก่ทุกชนทุกชั้นวรรณะ​ไม่ยึดติด​ในสมณศักดิ์​ใดๆ​ แม้แต้ตำแหน่ง​เจ้าอาวาส​ ท่านตื่นเช้า​ครองจีวรสวดมนต์ไหว้พระ​จนฟ้าสาง​ จึงออกบิณฑบาต​โปรดสัตว์​ เมื่อบิณฑบาต​กลับมาถึง​วัด​ ท่านจะขอให้​พระภิกษุ​ยืนเข้าแถวจากนั้นนำข้าวและอาหารที่บิณฑบาต​ใส่บาตร​พระเป็นเช่นนี้​เสมอ​ ฉันเช้าเสร็จ​ก็จะออกมากวาด​ลานวัดเป็นกิจวัตรที่ถือปฏิบัติ

หลวงพ่อ​โบ้ย​ ได้​เริ่ม​สร้าง​วัตถุ​มงคล​ ในปี​ พ.ศ.2473 โดยให้ลูกศิษย์​ไปบอกบุญ​เรี่ย​ไรวัสดุ​ต่าง​ๆเช่น​ทองเหลือง​ ทองแดง​ ขันลงหิน​ เชี่ยนหมาก​ โตก​ ขัน​ พาน​ ที่เป็นโลหะนำมา​หลอมละลาย​เป็น​พระเครื่อง​ จนเกิดเป็นโลหะที่มีสีไม่เหมือนกัน​ วัตถุ​มงคล​ของท่านจึงเป็นเอกลักษณ์​

รูป​เหมือน​หลวงพ่อ​โบ้ยเนื้อชานหมาก

หลังจากฉันเพลแล้วท่านจะเอาพระเข้ากุฏิ​ทำการปลุกเสก​ วัตถุ​มงคล​เกิดจากความ​บริสุทธิ์​ในการสร้าง​ ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์​ของหลวง​พ่อ​โบ้ย​ ที่ทรง​ศีลธรรม​และเวทย์​วิทยาคม​ จึง​ทำให้ผู้ที่มีวัตถุมงคล​ไว้บูชา​เกิดประสบการณ์​ช่วยคุ้มครอง​ป้องกันให้รอดพ้นจากภยันตราย​ทั้งปวง​

ปี​ พ.ศ.2479 ท่านเริ่มสร้าง​พระเนื้อดินเผา​ ในปี​ พ.ศ.2500 สร้าง​เนื้อ​ชานหมาก​เป็น​รูปเหมือนหลวงพ่อ​โบ้ย​ พ.ศ.2508​ สร้างเหรียญสี่เหลี่ยม​ตัดมุม​และเหรียญ​กลมนั่งเต็มองค์​ สร้าง​ในงานผูกพัทธสีมา​

ทินวงษ์​ เถื่อน​น้อย”ทินนี่​ สุพรรณ” นักสะสม​และ​ศึกษา​พระเครื่อง​สายสุพรรณบุรี​

ส่วน​เหรียญ​กลมครึ่ง​องค์​สร้าง​ในงานฌาปนกิจศพ​หลวงพ่อ​ ซึ่งท่าน​ได้​มรณภาพ​ เมื่อวันที่12​ มกราคม​ พ.ศ.2508​ สิริอายุ​ 73 ปี​ 52 ปี​ วัตถุ​มงคล​ของหลวงพ่อท่านทำแจกอย่างเดียวไม่ยอมรับปัจจัยจากผู้บริจาค​

วัตถุ​มงคล​ของหลวงพ่อ​โบ้ย​ ถือได้ว่าเป็นหนึ่ง​ไม่เป็นสองรองใคร​มีอานุภาพ​ในด้านแคล้วคลาด​ปลอดภัย​ ด้วยความบริสุทธิ์​ในสร้างจึงเป็นที่หมายปองของเหล่าผู้​นิยมและศึกษา​ นี่เป็นอีกคนหนึ่งที่นิยมและศึกษา​วัตถุ​มงคล​ของหลวง​พ่อ​โบ้ย​ วัดมะนาว​ คือ​ ทินวงษ์​ เถื่อนน้อย”ทินนี่​ สุพรรณ” เป็น​ชาวจังหวัดสุพรรณบุรี​โดยกำเ​นิด​ มีความชื่นชมพระเครื่อง​ของเมือง​สุพรรณบุรี​ เพราะเป็นพระบ้านเกิด​ ซึ่งตนนั้น​มีชอบในศิลปะของรูปพรรณ​สัณฐาน​พระพุทธ​รูป​และพระ​เครื่อง​ ซึ่ง​ทั้ง​หลายเหล่านี้​มีความเก่าแก่​มีความงดงามอยู่ในพุทธ​ศิลป์​ จึงได้เกิดความชอบ​ครั้งเป็นเด็กโดยเริ่มต้น​ศึกษา​พระเครื่อง​ของพ่อที่เก็บไว้บูชาไว้บนหิ้ง​พระที่บ้าน​ และศึกษา​พระเครื่อง​วัดใกล้​บ้าน​ เช่น​ วัดธัญญะวารี​ หลวงพ่อเจริญ​ วัดดอนบัวทอง​ หลวงพ่อ​ฮวด​ วัดคลองมะดัน​ หลวงพ่อโหน่ง​ พระกรุสุพรรณและพระเครื่อง​ในจังหวัด​สุพรรณบุรี​และจังหวัด​ใกล้เคียง​”ทินนี่​ สุพรรณ” นำเสนอวัตถุมงคล​ของ​ หลวงพ่อ​โบ้ย​ วัดมะนาว​ เพื่อเป็นวิทยาทานเพื่อเป็นแนวศึกษารูปพิมพ์​ที่หลวงพ่อท่าน​สร้าง​แจกจ่ายไว้บูชา​ วัตถุ​มงคล​หลวง​พ่อ​โบ้ย​ กลายเป็น​วัตถุ​มงคล​ยอดนิยม​ พุทธ​คุณเด่นในด้านแคล้วคลาด​ปลอดภัย​ คงกระพัน​ชาตรี​ เป็นที่โจษขานของชาวสุพรรณบุรี​และผู้ที่มีวัตถุ​มงคล​ของหลวง​พ่อ​บูชา

เรื่อง/ภาพ​ โดย​ พรหม​พิริยะ​ จันทร์​เพ็ญ