‘สวนสุนันทา’สร้างชื่อกระฉ่อนโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพงศ์ อินเกื้อ อาจารย์สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อจ.สวนสุนันทาคว้า “เหรียญทอง” งานวิจัยนวัตกรรมใหม่สร้างโลก “เพิ่มมูลค่าวัสดุอุตสาหกรรมหลือทิ้ง”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกพงศ์ อินเกื้อ อาจารย์สาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คว้ารางวัลเหรียญทอง “Gold” ผลงานนวัตกรรมบนเวทีนนานาชาติ 23rd Moscow International Salon of Inventions and Innovative Technologies “ARCHIMEDES” ณ สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24-27 มีนาคม 2563 ด้วยการนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์

ผศ.ดร.เอกพงศ์ กล่าวว่า “สำหรับผลงานชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองวัสดุใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมกาแฟ และอุตสาหกรรมรองเท้า ซึ่งวัสดุดังกล่าวนี้มีความต้านทานแรงดึงที่ดี รวมถึงมีความทนทาน ความยืดหยุ่นและความต้านทานต่อการฉีกขาดสูง นอกจากนี้ยังสามารถขึ้นรูปได้ตามต้องการ นอกจากนี้มีรูปแบบและกลิ่นของกากกาแฟยังคงอยู่ เหมาะสำหรับการรองรับแรงกระแทกและสามารถใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมรองเท้า อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปูพื้นหรือวัสดุตกแต่งผนังภายในอาคาร”

ผศ.ดร.เอกพงศ์ กล่าวว่า “ประเทศไทยกำลังผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบ BCG model (Bio Economy, Circular Economic, Green Economy) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของเสียจากภาคอุตสาหกรรม ผ่านกระบวนการผลิตที่สามารถหมุนเวียนหรือลดปริมาณขยะและสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุดสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน”

“การพัฒนาวัสดุในครั้งนี้เป็นการเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าของวัสดุเหลือทิ้งภาคอุตสาหกรรม โดยมูลค่าของอุตสาหกรรมกาแฟในประเทศไทยในปี 2561 สูงถึง 566 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีการบริโภคสูงถึง 120,000 ตันต่อปี คาดว่าจะมีกากกาแฟมากกว่า 290,000 ตันต่อปีในปี 2565 การแปรรูปใช้อัตราส่วนของกาแฟบดละเอียดและ EVA 90:10 ผสมที่อุณหภูมิ 120 ° C และการอัดรีดตามลำดับผลการทดลองมีดังนี้: Hardness 40 Shore E , Tensile Strength 27.83 Kg/cm , Elongation at Break 165% , Tear Strength 12.98 Kg/cm, Split Tear 3.02 Kg/cm, Shrinkage 1.64% , Compression Set 87.09%.” ผศ.ดร.เอกพงศ์ กล่าวในที่สุด

จรัญ ชุ่มเงิน รายงาน