กระชายขาว : สุดยอดสมุนไพรพิฆาตโควิด (ตอนที่ 1)

วิถีสุขภาพ

โดย…พินิจ จันทร

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2564

องค์ความรู้เกี่ยวกับกระชาย

กระชาย หรือ ขิงจีน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลืองหรือกระชายขาว เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกกันในประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อวิทยาศาสตร์      : Boesenbergia pundurata (R0xb) Schitr
วงศ์         : Zinggberaceae

ชื่อสามัญอื่น ได้แก่ กะแอน (อีสาน, เหนือ) กะซาย, ขิงซาย (อีสาน) จี๊ปู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) ซีพู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เป๊าะสี่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ละแอน (เหนือ) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กระชาย ถือว่าเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยคุ้นเคย กันมานานแล้ว จะมีถิ่นกำเนิด ในแถบร้อนอยู่ที่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบขึ้นอยู่บริเวณในป่าดิบร้อนชื้น  เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งมีความสูงประมาณ 2-3 ฟุต มีลำต้นใต้ดินเรียกว่า “เหง้า” เป็นเหง้าสั้นแตกหน่อได้ เช่นเดียวกับขิง ข่า และขมิ้น รากอวบรูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาวปลายเรียวแหลมออกเป็นกระจุก มีผิวสีน้ำตาลอ่อนเนื้อใบสีเหลืองมีกลิ่นหอมเฉาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นกาบใบที่หุ้มซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สีแดงเรื่อ ๆ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับตัวใบรูปรีปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบและกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ออกดอกเป็นช่อสีขาวหรือขาวอมชมพูที่ยอด (แทรกอยู่ระหว่างกาบใบ) ดอกบานทีละดอก มีลักษณะเป็นถุง ผลเป็นผลแห้งเมื่อแก่แล้ว

ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดจากส่วนต่าง ๆ

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 9 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม

ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30-35 ซม.

ดอก มีสีม่วงดอกออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมต่อกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลาย ท่อเกสรตัวเมียมีขนาดยาว เล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน[8]

ผล ผลแก่มี 3 พู มีเมล็ดอยู่ด้านในเมื่อผลแก่เต็มที่จะไม่แตก[9]ส่วนที่นำมาใช้จะเป็นส่วนของรากและเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะมีรสเผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย[10] และในส่วนของลำต้น ใบ จะนำมาทำผักจิ้มได้

ประโยชน์และสรรพคุณ

เป็นพืชที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยเฉพาะรากกระชาย ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือเป็นส่วนประกอบของน้ำพริกแกงโดยเฉพาะแกงที่ใส่ปลา เช่น แกงป่า ต้มโฮกอือ กระชายดับกลิ่นคาวของปลาได้ดี

ใบกระชาย ใช้ในการบำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ และแก้โลหิตเป็นพิษ

เหง้าและรากกระชาย แก้โรคบิด ขับปัสสาวะ และใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก

เหง้าใต้ดินกระชาย จะช่วยในการแก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง และ รักษาริดสีดวง

ประโยชน์จากกระชาย

1.แก้ท้องร่วง : ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว แล้วนำไปปิ้งไฟ จากนั้นมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใสคั้นมารับประทาน 1-2 ช้องแกง

2.แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง : ใช้ราก และ เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร

3.แก้โรคบิด : ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม

4.แก้ริดสีดวง : ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ทำการผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง จำนวน 3 ช้อนชา แล้วนำมาตำและต้มกับน้ำ 6 แก้ว ทำการเคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย

5.บำรุงหัวใจ : ให้ใช้เหง้าและรากกระชายมาปอกเปลือก จากนั้นก็ล้างน้ำให้สะอาด และหั่นตากจนแห้ง แล้วก็มาบดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว

อย่างไรก็ตาม ในการบริโภคกระชายนั้น ก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะมีปัญหาในเรื่องของเหงือกร่น, ใจสั่นได้ อีกทั้งยังมีผลต่อการทำงานของตับ ซึ่งผู้ที่ป่วยโรคนี้ จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ นอกจากนี้ก็ไม่ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง เพราะกระชายมีฤทธิ์ร้อน อาจจะทำให้เกิดโรคร้อนใน หรือ แผลในปากตามมาได้

สารสำคัญที่พบ

รากและเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบด้วยสารไพนีน แคมฟีน เมอร์ซีน ไลโมนีน บอร์นีออลและการบูร เหง้าและรากของกระชายมีรสเผ็ดร้อนขม หมอยาพื้นบ้านในประเทศไทยใช้เหง้า และรากของกระชายแก้ปวดมวนในท้อง แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้โรคกระเพาะ รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง และใช้บำบัดโรคกามตายด้านอีกด้วย

กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในเหง้ากระชายมีน้ำมันหอมระเหยแต่พบในปริมาณน้อย (ราวร้อยละ 1-3)  น้ำมันหอมระเหย ของกระชายประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น 1.8-cineol, camphor, d-borneolและ methyl cinnamateน้ำมันหอมระเหยที่พบส่วนน้อย ได้แก่ d-pinene, zingi-berene, zingiberone, curcuminและ zedoarinนอกจากนี้ยังพบสารอื่น ได้แก่ กลุ่มไดไฮโดรชาลโคน boesenbergin A  กลุ่มฟลาโวนฟลาวาโนน และฟลาโวนอยด์ (ได้แก่ alpinetin, pinostrobin) และ pinocembrinและกลุ่มชาลโคน (ได้แก่ 2′, 4′, 6′-trihydroxychalconeและ cardamonin)

น้ำมันหอมระเหยของกระชายมีฤทธิ์บรรเทาอาการหดตัว ของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อของระบบทางเดินอาหาร

สารสกัดกระชายมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E. coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการแน่นจุกเสียด นอกจากนั้นสาร cineole มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ จึงลดอาการปวดเกร็ง

(ตอนต่อไป : อีกหนึ่งยาสมุนไพรพิฆาตโควิด)