“ข้าวหอม” จัดเป็นข้าวคุณภาพสูง โด่งดังทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศที่ปลูกข้าว มีผู้บริโภคมาเป็นเวลาช้านาน มีการเพาะปลูกข้าวหอมโดยทั่วไป จึงทำให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มของเกษตรกรและพ่อค้า
“ข้าวขาวดอกมะลิ 105” ของไทยเรา เป็นข้าวหอมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากผู้บริโภคทั่วโลก เนื่องจากมีกลิ่นหอมและมีคุณภาพการหุงต้มดี ซึ่งความหอมของข้าวนั้นเป็นตัวกำหนดคุณภาพและราคาของข้าว จะเห็นได้ว่าข้าวที่มีกลิ่นหอมมักจะมีราคาสูงกว่าข้าวที่ไม่มีกลิ่นหอม
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจการส่งออกข้าวไทย เดือนแรกของปี 2564 ตกลงมา ทำให้ไทยหล่นมาอยู่อันดับ 4 ของโลก แม้ครึ่งปีหลังมีการฟื้นตัวส่งออกได้มากขึ้น แต่ในภาวะที่มีการแข่งขันสูง การมองหาวิธีเพิ่มคุณภาพและความสามารถในการแข่งขันกับตลาด ย่อมเป็นทางออกที่ยั่งยืนในระยะยาว
ในขณะที่ เกษตรอินทรีย์ กำลังเป็นกระแสความต้องการของโลก แต่ปัจจุบันยังมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ผู้บริโภคเริ่มตื่นตัวเรื่องอาหารปลอดสารพิษ และ “ข้าว” เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มีการนำเสนอในรูปแบบ ข้าวอินทรีย์ ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดและราคาสูงกว่าข้าวทั่วไป และมีตลาดที่เรายังมีช่องทางในการแข่งขันส่งออก เช่น ยุโรปและอเมริกา ที่เน้นคุณภาพและมีกระบวนการผลิตที่เป็นออแกนิค
เกษตรกรบางรายยังมีความเชื่อที่ว่าเกษตรอินทรีย์ทำยาก กลัวเกิดผลกระทบต่างๆในเรื่องของต้นทุนในการผลิตหากทำไม่สำเร็จ ส่วนเกษตรกรบางรายเริ่มมีการทดลองทำข้าวอินทรีย์ในแปลงตนเองส่วนนึงหรือที่เรียกว่ากึ่งอินทรีย์ พอประสบความสำเร็จเริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นและดำเนินการขยายแปลงนาที่เป็นเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบ ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนปัจจัยการผลิต สร้างรายได้เพิ่มขึ้น และฟื้นฟูระบบนิเวศน์แปลงนาให้มีความอุดมสมบูรณ์ของดินและมีความสมดุลตามธรรมชาติจากการทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นผลให้ประชาชนได้มีอาหารอินทรีย์บริโภคกันอย่างกว้างขวาง
จากงานทดลองของ ดร.กร สุขเกษม การให้สารเสริมที่ทำจากธรรมชาติ ก็สามารถเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรอินทรีย์อย่างเห็นได้ชัด
ผลการวิจัยจากแปลงเกษตรกร (สมาชิกสหกรณ์การเกษตรไร้สาร จำกัด) อุบลราชธานี ที่ใช้สารเสริมจากผลิตภัณฑ์ผึ้ง 2 ครั้ง
ผลผลิตเฉลี่ย (กก./ไร่)
เขื่องใน = 401.5
ม่วงสามสิบ = 527.4
ตระการพืชผล = 485.2
กุดข้าวปุ้น = 454.3
พิบูลมังสาหาร = 570.6
ผลผลิตเฉลี่ย 487.8±39.0
C.V = 8 % 3.2O %
หมายเหตุ เขื่องใน n = 24 ราย, ม่วงสามสิบ n = 30 ราย, ตระการพืชผล n = 25 ราย
กุดข้าวปุ้น n = 20 ราย, พิบูลมังสาหาร n = 25 ราย
(จากงานวิจัยของ กร สุขเกษมและคณะ)
ถ้าเราสามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยในการผลิต ก็อาจจะสามารถผันตัวเพิ่มผลผลิตจนสามารถส่งออกแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างภาคภูมิ