สุดยอดน้ำชาเพื่อสุขภาพ
การทำน้ำชาจากมะตูม
มะตูม(Bael, Bel fruit, Bengal Quince, Bilak) เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นศิริมงคล พบประปรายตามป่าเบญจพรรณ ยกเว้นภาคอีสานและภาคใต้ ออกดอกประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และให้ผลแก่ประมาณ ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มีเนื้อไม้ละเอียดสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม เมื่อยังสดใช้ทำตังเกวียน เพลาเกวียนและหวี มีชื่อพื้นเมือง คือมะปิน(เหนือ) กะทันตาเถร ตูม ตุ่มตัง(ใต้) มะตูม(กลาง,ใต้) บัวตูม (ยโสธร-อิสาน)หมากตูม(อุดรธานี มหาสารคาม อีสาน) มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) พะเนิว(เขมร)
สรรพคุณและประโยชน์
มะตูมประกอบด้วยสารเพคติน (pectin) สารเมือก (mucilage) และสารแทนนินซึ่งให้รสฝาด นอกจากนี้ยังมีสารขมต่างๆ ได้แก่ สารคูมาริน (coumarin) และมีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ซึ่งมีสรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
คนไทยไม่ค่อยจะรู้สรรพคุณมากเท่าใด คนส่วนมากจะรู้จักแต่น้ำมะตูมกลิ่นหอมชื่นใจ ดื่มร้อนหรือเย็นก็รสชาติอร่อย คลายร้อนได้ดีนัก คนที่ชอบทานอาหารเผ็ดจัดจ้านอย่างอาหารภาคใต้ ทานน้ำพริกหรือลาบก้อยเป็นประจำ นิยมใช้ใช้ยอดอ่อนและผลอ่อนเป็นผักแกล้ม มีรสฝาดปร่า ขื่น มัน แก้ปวดศีรษะ ตาลาย ลดความดันโลหิตสูง ผลสุกนิยมทานเนื้อในเป็นผลไม้รสชาติอร่อย หรือฝานเป็นแผ่นบางๆ ตากแห้ง ใช้ต้มทำน้ำมะตูมหรือทำชา เป็นที่นิยมมาก
ในตำรายาไทยมักกล่าวถึงเสมอคือ มะตูมนิ่ม ซึ่งปัจจุบันได้พบแล้วว่ามะตูมนิ่มมีอยู่จริง แต่เป็นพันธุ์ที่ค่อนค้างหายาก ลักษณะทั่วไปเหมือนมะตูมเปลือกแข็งนี่แหละ แต่มะตูมนิ่มจะมีเปลือกนิ่มกว่า แม้เอาไปตากแดดจนแห้งแล้ว ลองจับดูยังพบว่านิ่มเหมือนเดิม มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง ขับลม และเจริญอาหาร
มะตูมนิ่ม ถูกกล่าวขานมากเพราะเป็นหนึ่งในตัวยาตำรับยาอายุวัฒนะที่ชื่อว่าลูกแปลกแม่ ซึ่งประกอบด้วยตัวยา 3 ชนิด คือ มะตูมนิ่ม กล้วยน้ำไท และพริกไทย โดยมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับยาตำรับนี้ไว้ว่า “ชายหนุ่มผู้เป็นลูกได้นำเอาสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดมาบดคลุกเคล้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทำเป็นแผ่นนำไปตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนใส่โถเก็บไว้ จากนั้นก็ได้ออกเดินทางไปท่องเที่ยวตามเมืองต่างๆ นานหลายปี ผู้เป็นแม่ก็คิดถึงลูกยิ่งนักแต่ลูกก็ไม่มาสักที พลันเหลือบไปเห็นโถยาลูกก็เอามาลองกินดู พบว่าผิวพรรณสดใสขึ้น ร่างกายแข็งแรง แม้แต่น้ำล้างหน้าแปรงฟันที่บ้วนทิ้งก็ทำให้หญ้างาม วัวที่มากินหญ้านั้นยังแข็งแรงดีด้วย ผู้บุตรเดินทางกลับบ้านกลับจำแม่ไม่ได้ เพราะตนเองแก่เฒ่าไปมากแต่แม่กลับสาวสดใสขึ้น” เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาจวบปัจจุบัน
จากข้อมูลของอินเดียระบุไว้ว่า สารสกัดจากใบมะตูมช่วยทำให้เนื้อตับและไตที่ผิดปกติเนื่องจากภาวะของเบาหวานสามารถกลับคืนสู่ภาวะใกล้เคียงปกติ และช่วยในการฟื้นฟูของตับอ่อนที่ถูกทำลาย ซึ่งสอดคล้องกับสรรพคุณที่ทางยาไทยใช้มะตูมเป็นยาสมุนไพรบำรุงไฟธาตุ บำรุงน้ำดี
ดื่มน้ำมะตูมเป็นประจำจัดเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร หรือเอาผลสัก 2 ผลทุบให้แตก ผสมกับกำลังเจ็ดช้างสาร ดองด้วยเหล้าขาว 40 ดีกรี ดื่มวันละ 3 เวลาก่อนอาหารเช้า เย็น และก่อนนอน เป็นยาอายุวัฒนะและบำรุงกำลังขนานเอก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ คือ ผลมะตูมอ่อน ผลสุก เปลือก ลำต้น และราก ซึ่งแต่ละส่วนของมะตูมจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังต่อไปนี้
ผลมะตูมนิ่ม – ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ขับลม เจริญอาหาร และบำรุงกำลัง
เปลือก รากและลำต้น – ใช้แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้ สำหรับรากมะตูมบ้านนิยมใช้ใน
การปรุงยา
ยอดอ่อนและใบอ่อน – มีรสเผ็ดร้อน อมฝาด กลิ่นหอม เป็นยาบำรุงธาตุทำให้เจริญ
อาหารแก้ท้องเดิน
ใบสด – รสปร่า ขื่น มัน แก้หลอดลมอักเสบ แก้หวัด แก้ตาเจ็บ แก้เยื่อตา
อักเสบ แก้เลือดเป็นพิษ แก้ไข้ แก้หืด แก้เสมหะเหนียว แก้บวม แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง บำรุงธาตุ เจริญอาหาร แก้เสมหะ แก้มูกเลือด แก้กระหายน้ำ
ราก – รสปร่าชาขื่นเล็กน้อยแก้พิษฝีแก้ไข้แก้ลมหืดหอบไอช่วยบำบัด
เสมหะรักษาน้ำดีใบรสฝาดเป็นยา บำรุงธาตุทำให้เจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดินน้ำที่คั้นจากใบใช้แก้หวัดแก้หลอดลมอักเสบผลมะตูมสุก
รสหวาน สรรพคุณ แก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลมผาย
แก่น – แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด
หนาม – แก้พิษฝีต่างๆ แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ
ดอก – แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ แก้ตกโลหิต
ผลอ่อน – รสฝาดร้อน ปร่า ขื่น หั่นผึ่งให้แห้งบดให้เป็นผง หรือต้ม
รับประทานแก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้โรคกระเพาะอาหาร เจริญอาหาร ขับผาย ลม บำรุงกำลัง เป็นยาบำรุงธาตุทำให้เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะ
ผลโตเต็มที่ – ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้
ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
ผลแก่ – แก้เสมหะและลม บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมผาย
และช่วยเจริญอาหาร
ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก – น้ำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวน
รับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม
ผลสุก – ผลสุกของมะตูมใช้เป็นยาระบาย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ท้องเสีย
แก้บิดเรื้อรัง ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด แก้กระหายน้ำ ขับลม เป็นยาธาตุสำหรับผู้สูงอายุที่ท้องผูก และเป็นยาขับลม เนื่องจากมีสารเพคตินจึงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคในลำไส้ได้ โดยสารเพคตินจะไปรวมกับสารพิษ(toxin) ที่ผลิตโดยเชื้อก่อโรค
เนื้อในผลสุก – รสหวานเย็น ต้มดื่มหรือเอาเนื้อรับประทาน แก้ลมเสียดแทงใน
ท้อง แก้มูกเลือด บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลม หืด หอบ ไอ เชื่อมทำของหวาน
เนื้อใน – ตากแห้งใช้ทำเครื่องดื่ม ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคเกี่ยวกับ
กระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย ส่วนผลมะตูมสุกใช้เป็นยาระบาย
ยอดอ่อนและผลดิบ – ใช้รับประทานเป็นผักยอดอ่อน ออกตลอดปีลูกอ่อนพบในช่วง
ฤดูฝน (ผลสุกมีในช่วงกลางฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง) การปรุงอาหารคนไทยทุกภาครับประทานยอดอ่อนใบอ่อนของมะตูม เป็นผักสด ในตลาดท้องถิ่นมักพบใบมะตูมอ่อนจำหน่ายเป็นผักในหลายแห่ง ชาวเหนือรับประทานแกล้มลาบ ก้อยหรือแจ่วป่นชาวใต้รับประทานร่วมกับน้ำพริกและแกงรสจัดสำหรับชาวภาคกลางไม่นิยมรับประทานยอดอ่อนแต่พบว่ามีการใช้มะตูมดิบมาปรุงเป็นยำมะตูม
ยางของผลดิบ – ใช้ผสมสีทากระดาษแทนกาวได้
เปลือกของผล – ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า
การทำน้ำหวานมะตูม
ส่วนผสม – เนื้อมะตูมสุก 1 กก.
– น้ำสะอาด 2 1/2 ลิตร
– น้ำเชื่อม 2 ลิตร
– กรดซิตริก (กรดมะนาว) 5 กรัม หรือประมาณ 1/2 ช้อนโต๊ะ
– เกลือ 5 กรัม หรือประมาณ 1/2 ช้อนโต๊ะ
– สารกันเสีย โซเดียมเบนโซเอท(ถ้าต้องการเก็บไว้นาน)
วิธีการทำ
- ล้างผลมะตูมให้สะอาด ผ่าครึ่ง แคะเมล็ดออก ใช้ช้อนตักเนื้อออก
- ต้มเนื้อมะตูมสุกกับน้ำสะอาดด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 20 นาที กรองให้ได้น้ำ 2 ลิตร
- เอาน้ำมะตูมที่กรองได้มาผสมกับน้ำเชื่อมร้อน เติมกรดซิตริกและเกลือ
การทำน้ำชามะตูม
วัตถุดิบ – ผลมะตูมอ่อนฝานตากแห้ง 5 ชิ้น
– น้ำเดือด 1 กระติก
วิธีการทำ
นำมะตูมที่ฝานตากแห้งนี้เอาไปย่างไฟเสียก่อนย่างให้เกรียม พอประมาณแล้วเอาไปต้ม ใส่น้ำร้อนดื่มได้เช่นเดียวกับน้ำชา (ช่วยขับถ่าย ขับลม ช่วยย่อยอาหารได้ดี แก้ลมจุกเสียด ขับเสมหะช่วยย่อยบำรุงธาตุ เจริญอาหาร)