สุดยอดน้ำชาเพื่อสุขภาพ
การทำน้ำชาจากหม่อน
หม่อน (Morus spp) นอกจากเป็นอาหารของหนอนไหมแล้ว ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยมของมนุษย์ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถยึดเป็นอาชีพได้ อีกทั้งสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของหลาย ๆ จังหวัดได้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดภายในประเทศ
สรรพคุณและประโยชน์
เป็นชาสมุนไพรที่มีคุณค่ามากต่อร่างกาย มีบันทึกการใช้ชาใบหม่อนในตำรับจีนโบราณ กล่าวถึงการดื่มชาใบหม่อนตากแห้งที่เรียกว่า “Shinsen Tea” เป็นประจำจะมีผลดีในการรักษาโรคไอ ไอกรน ป้องกันโรคความดันสูงและมีคุณสมบัติเป็นยาบำรุง ในปัจจุบันได้มีการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของใบหม่อนในหลายประเทศ พบสรรพคุณของใบหม่อนมากมาย ได้แก่
– มีสาร GABA (gamma amino butyric acid) ช่วยลดความดันโลหิต ซึ่งพบว่าใบหม่อน 100 กรัม มีสาร GABA ถึง 230 มก.
– มีสาร Phytosterol ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ป้องกันการจับตัวของลิ่มเลือด จึงช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ในใบหม่อน 100 กรัม มีสาร sitosterol ซึ่งเป็นสาร Phytosterol ชนิดหนึ่งอยู่ 46 มก. มากกว่าในชาเขียว 3.3 เท่า
– มีสาร Deoxynojirimycin ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งมีอยู่ 0.1% ในใบหม่อนแห้ง ซึ่งสารนี้มีอยู่เฉพาะในใบหม่อนเท่านั้น ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำตาลจากลำไส้ ทำให้สารนี้มีผลลดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นประโยชน์สำหรับป้องกันโรคเบาหวาน และสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานอยู่แล้ว
– มีรายงานว่าสารสกัดจากใบหม่อนมีฤทธิ์ยับยั้งการก่อกลายพันธ์(ต้านมะเร็ง) ในสัตง์ทดลองได้ ตามตำราสมุนไพรจีน มีบันทึกใช้ใบหม่อนต้มดื่มรักษาโรคความดันโลหิตสูง และใช้ดื่มเป็นประจำแทนน้ำชา เพื่อบำรุงร่างกาย
– มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกเนเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี สูงมาก
– มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน (quercetin) แคมเฟอรอล (kaempferol) และ รูติน(rutin)
– มีสารดีเอ็นเจ (1-deoxynojirimycin) มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (gamma amino-butyric acid) ลดความดันโลหิต
– มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค
คุณสมบัติของใบหม่อนที่ใช้ทำชา
- พันธุ์ ใช้พันธุ์ส่งเสริมของทางราชการ คือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 หรือพันธุ์นครราชสีมา 60 ซึ่งทั้งสองพันธุ์เป็นพันธุ์ที่ให้ ้ผลผลิตสูง ใบขนาดใหญ่ หนา ไม่เหี่ยวง่าย เหมาะสมกับการผลิตเป็นชา
- ความสด ใบที่จะใช้ในการผลิตชาใบหม่อนจะต้องมีความสด ไม่ใช้ใบที่เหี่ยว หรือตายนึ่ง ในการผลิตชาหม่อนนั้น ใบสด จะทำให้ได้ใบชาที่มีสีเขียว และมีคุณภาพดี
- ความสมบูรณ์ของใบ ใบที่ใช้ในการผลิตชาใบหม่อน จะต้องเป็นใบหม่อนที่ได้รับการบำรุงรักษาโดยการใส่ปุ๋ยกำจัด วัชพืช และการตัดแต่งเป็นอย่างดี ทำให้ใบมีความสมบูรณ์ เขียว ไม่แคระแกรน
- ความสะอาดของใบ ใบที่ใช้ในการผลิตชาใบหม่อนจะต้องเป็นใบที่สะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน เช่น ดิน ทราย เศษพืชชนิดอื่น เศษพลาสติก สิ่งสกปรก และสิ่งเจือปนอื่น ๆ ห้ามเก็บใบหม่อนใส่ถุงปุ๋ย เพราะจะทำให้ปนเปื้อนสารเคมีในถุงปุ๋ย และเศษพลาสติกจาก ถุงปุ๋ยอาจหลุดปะปนมาในใบหม่อน
- ปราศจากโรคและแมลง ใบที่ใช้ในการผลิตชาใบหม่อนจะต้องเป็นใบที่ปราศจากโรคชนิดต่าง ๆ และต้องไม่มีแมลงหรือ ไข่แมลงปะปนมากับใบหม่อน
- ปลอดสารเคมี ใบที่ใช้ในการผลิตชาใบหม่อน จะต้องเป็นใบที่ได้จากแปลงที่ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และไม่ควร อยู่ใกล้กับแปลงพืชชนิดอื่นที่ใช้สารเคมี
- การเก็บเกี่ยวใบหม่อน วิธีที่เหมาะสม คือ การเก็บเกี่ยวโดยการเก็บใบเช่นเดียวกับการเก็บใบเพื่อเลี้ยงไหม
คุณประโยชน์ของชาใบหม่อน
จากรายงานของ Preventive Effect of Mulberry leaves on Adult diseases พบว่า ชาหม่อนมีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้โดยมีการศึกษาในหนูทดลอง ได้ผลสรุปดังต่อไปนี้
– ลดระดับคอเลสเตอรอล สาร Phytosterol เป็นสารที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือด โดยยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้
– ลดน้ำตาลในเลือด สารที่เรียกว่าดีอ๊อกซิโนจิริมายซิน ซึ่งมีอยู่ 0.1% ซึ่งสารนี้จนกระทั่งปัจจุบันจะพบเฉพาะในใบหม่อนเท่านั้น ซึ่งมีผลในการยับยั้งการทำงาน ของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำตาล และชลอการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ ซึ่งมีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด
– ลดความดันโลหิต สาร Gamma-amino butyric acid ซึ่งมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต
– บำรุงร่างกาย นอกจากมีสารที่เป็นประโยชน์ในทางการแพทย์แล้ว ยังพบว่าในการวิเคราะห์ชาเขียวจาก ใบหม่อนพบแร่ธาตุต่าง ๆ และโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
การทำชาเขียวใบหม่อน
ใช้ใบหม่อนสด ได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่
วิธีการทำ
– คัดใบหม่อนที่ไม่มีคุณภาพออก เช่น ใบเหลือง ใบเป็นโรค หรือมีสิ่งเจือปน
– หั่นใบหม่อนให้มีขนาดประมาณ 0.5×4.0 เซ็นติเมตร ตัดก้านใบออก
– ลวกน้ำร้อน 20-30 วินาที หรือนึ่งประมาณ 1 นาที
– ถ้าลวกในน้ำร้อน จุ่มน้ำเย็นทันที ผึ่งลมให้แห้งหมาด ๆ
– คั่วในกระทะด้วยไฟอ่อน ประมาณ 20 นาที
– อบที่อุณหภูมิ 80 ํC นาน 1 ชั่วโมง สามารถเก็บไว้ดื่มได้นาน
การทำชาจีนใบหม่อน
ใช้ใบหม่อนสด ได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่
วิธีการทำ
– คัดใบหม่อนที่ไม่มีคุณภาพออก เช่น ใบเหลือง ใบเป็นโรค หรือมีสิ่งเจือปน
– ตัดก้านใบทิ้ง หั่นใบหม่อนให้มีขนาด 0.5 x 3-4 เซ็นติเมตร
– คั่วในกระทะด้วยไฟอ่อน ๆ นานประมาณ 20 นาที
– อบที่อุณหภูมิ 80 ํC นาน 1 ชั่วโมง
– เก็บไว้ในภาชนะป้องกันความชื้นเข้าได้ สามารถเก็บไว้ดื่มได้นาน
การทำชาดำหรือชาฝรั่งใบหม่อน
วิธีการทำ
– คัดเลือกใบหม่อนที่ไม่มีคุณภาพออก เช่น ใบเหลือง ใบเป็นโรค หรือมีสิ่งเจือปน
– ตัดก้านใบทิ้ง หั่นใบหม่อนให้มีขนาด 0.5 x 3-4 เซ็นติเมตร
– คั่วในกระทะด้วยไฟอ่อน ขณะครั่วใบหม่อนแรง ๆ เพื่อให้เซลล์ใบหม่อนแตกช้ำจนกระทั่งใบหม่อนแห้งกรอบ ใช้เวลานานกว่า 25 นาที
– ทดสอบ สี กลิ่น รส ของน้ำชา และสีของกากใบชา เบื้องต้นเช่นเดียวกับชาจีน
การทำน้ำชาใบหม่อน
- เก็บยอดใบหม่อนเพื่อที่จะนำมาสกัดเป็นชา จะใช้เพียง 3 ยอดบนสุดเท่านั้น
- ต้องะเก็บในช่วงเช้า ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น (วิธีการเก็บจะเหมือนกับการเก็บยอดชาทั่วไป)
- หลังจากนั้นนำมาตากแดดให้แห้ง หรือผ่านกระบวนการอบฆ่าเชื้อ
วิธีการชง การชงชาใบหม่อนเพื่อให้คุณประโยชน์ที่ดีนั้น ควรที่จะนำใบแห้งมาบดให้ละเอียด ใส่ในซองเยื่อกระดาษสำหรับชงชา สำหรับชาใบหม่อนจำนวน 2 กรัม ควรใช้กับน้ำปริมาณ 3 แก้ว แล้วควรทานให้หมดภายในวันเดียว