บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตระหนักถึงความเสี่ยงประเด็นด้ านสิทธิมนุษยชน ดำเนินงานเชิงรุกเพื่อส่งเสริ มและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในองค์ กรต่อเนื่อง ร่วมมือกับ มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุ ณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network Foundation: LPN) องค์กรประชาสังคมพันธมิตร สานต่อโครงการจัดอบรมด้านสิทธิ มนุษยชนแก่พนักงาน และการดำเนินงานศูนย์รับฟังเสี ยงพนักงาน “Labour Voices Hotline by LPN” เป็นปีที่ 5 พร้อมร่วมตรวจประเมิ นกระบวนการจ้างงานพนักงานอย่ างมีจริยธรรม เพื่อให้มั่นใจการสรรหาแรงงานต่ างชาติของซีพีเอฟอยู่ภายใต้ กฎหมาย โปร่งใส มีความเป็นธรรม และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหารทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ มีนโยบายจ้างงานอย่างมีจริยธรรม ปฏิบัติต่อแรงงานถูกต้ องตามกฎหมาย เท่าเทียมและเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติโดยสิ้นเชิง (Zero-Tolerance Approach) ส่งเสริมความหลากหลายและยอมรั บความแตกต่าง โดยมีการจ้างพนักงานต่างชาติ จากประเทศต้นทางเป็นพนั กงานโดยตรงของบริษัทฯ ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่ างเสมอภาคและเท่าเทียมกับพนั กงานชาวไทย ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนิ นงานที่ส่งเสริมการเคารพสิทธิ มนุษยชนและการปฏิบัติด้ านแรงงานที่ดีภายใต้ กระบวนการตรวจประเมินสถานะด้ านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence : HRDD) ซีพีเอฟเริ่มตรวจประเมินสถานะด้ านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านตั้ งแต่ปี 2559 และจัดทำทุก 3 ปี รวมถึงทบทวนความเสี่ ยงและมาตรการการจัดการเป็ นประจำทุกปี ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายในการพั ฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนภายใต้ กลยุทธ์ CPF 2030 Sustainability in Action
ในปีนี้ ซีพีเอฟมีการตรวจประเมินความเสี่ ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk Assessment : HRRA) เพื่อระบุความเสี่ยงสำคั ญและลดโอกาสเกิดผลกระทบด้านสิ ทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิ จตลอดห่วงโซ่คุณค่า ของกิจการในและต่างประเทศรวม 17 ประเทศ ครอบคลุมพนักงานของบริษัทและกลุ่ มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ครอบคลุมกลุ่มความหลากหลายเรื่ องเพศ (LGBTQI+) เชื้อชาติ ศาสนา กลุ่มผู้บกพร่องทางร่างกาย และผู้เปราะบาง นอกจากนี้ กระบวนการตรวจประเมินดังกล่าวยั งครอบคลุมถึงบริษัทร่วมทุนและกิ จการควบรวมด้วย
นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ได้เลือกประเมินผลกระทบด้านสิ ทธิมนุษยชน (Human Rights Impact Assessment :HRIA) ใน “กลุ่มพนักงาน” (Employees) ในประเทศไทย ว่าได้รับผลกระทบจากความเสี่ ยงแท้จริง (Actual Risks) อย่างไร รวมถึงการประเมินประสิทธิ ภาพของมาตรการควบคุมต่าง ๆ นำไปการบรรเทาผลกระทบให้ได้ มากที่สุดความร่วมมือกับมูลนิธิ LPN เป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของซีพี เอฟที่จะให้พนักงานต่างชาติได้ รับการปฏิบัติที่ดี และเข้าถึงสิทธิอย่ างเสมอภาคและเท่าเทียม จึงพัฒนาหลักสูตรจัดอบรมด้านสิ ทธิมนุษยชนเฉพาะสำหรับพนั กงานกลุ่มเปราะบาง รวมถึงพนักงานต่างชาติ ซึ่งในปีที่ผ่านมา การวัดผลความเข้าใจหลั งอบรมแสดงให้เห็นว่าพนักงานมี ความเข้าใจมากขึ้นในเรื่องสิทธิ แรงงานและสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังสนับสนุนกิจกรรมหรื อให้ความสะดวกแก่พนักงานต่ างชาติ เช่น จัดให้มีล่ามประจำโรงงาน ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพนั กงานต่างชาติขณะทำงานและใช้ชีวิ ตอยู่ในประเทศไทยอย่างมั่นใจ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานต่ างชาติเข้าร่วมเป็นสมาชิ กคณะกรรมการสวัสดิ การในสถานประกอบการ เพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่บริษัทได้ นำไปพัฒนาสภาพแวดล้ อมการทำงานและสวัสดิการที่ เหมาะสมกับพนักงานทุกกลุ่มต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานซีพี เอฟทุกคนได้รับการปฏิบัติที่ดี ตามมาตรฐานสากล
นายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิ ธิ LPN กล่าวว่า มูลนิธิ LPN และ ซีพีเอฟบูรณาการทำงานขับเคลื่ อนการส่งเสริมสิทธิมนุ ษยชนภายในองค์กรมาอย่างต่อเนื่ อง ช่วยสร้างความมั่นใจว่าพนั กงานของซีพีเอฟทุกคน ทุกระดับ ทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ได้รับการปฏิบัติที่ดี ตามมาตรฐานสากล โดยในปีนี้ มูลนิธิฯ จัดกิจกรรมอบรมด้านสิทธิมนุ ษยชนแก่พนักงานของซีพี เอฟในสถานประกอบการทั่วประเทศ โดยยังเน้นให้ความรู้เรื่องสิ ทธิมนุษยชน กฎหมายแรงงาน ความปลอดภัยและอาชีวอนามั ยในการทำงาน ส่งเสริมการใช้ช่องทางศูนย์รั บฟังเสียงพนักงาน “Labour Voices Hotline by LPN” เปิดโอกาสให้พนักงานได้ แสดงความเห็น ข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อร้องเรียนต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ
ในปีนี้ มูลนิธิ LPN ได้ร่วมตรวจประเมินสถานะการจั ดจ้างพนักงานต่างชาติตามหลั กการการจ้างงานอย่างมีจริยธรรม (Ethical Recruitment) ในรูปแบบ social audit โดยการสอบถามและพูดคุยกับพนั กงานต่างชาติ เพื่อให้ซีพีเอฟมั่นใจว่ าการดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปด้ วยความรับผิดชอบ ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ มีความโปร่งใส และเพื่อพัฒนาขั้นตอนการจัดจ้ างพนักงานต่างชาติให้รัดกุ มและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล และลดโอกาสเกิดการใช้แรงงานอย่ างผิดกฎหมาย แรงงานขัดหนี้ ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาแรงงานบังคั บและการค้ามนุษย์./