“ลูกเอก”ปิดทองฝังลูกนิมิต มหากุศลอันยิ่งใหญ่ ใครทำคนนั้นได้ สาธุ!

“ปิดทองฝังลูกนิมิต” มหากุศลอันยิ่งใหญ่ เชื่อว่าจะได้รับอนิสงส์ผลบุญส่งผลให้มีทรัพย์สินเงินทองไหลมาเทมา มีอายุยืนยาวปราศจากโรคภัยได้เกิดในพบภูมิที่ดี และพระสังกัจจายน์เป็นเลิศในโชคลาภและเสน่ห์เมตตามหานิยมอุดมด้วยโภคทรัพย์และยศฐาบัลดาศักดิ์

โบสถ์ วัดหนองแก ต.วังไทร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

6ม.ค.66 / การสร้างวัดในประเทศไทยมีมาเมื่อสมัยศิลปะทวาราวดีในราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 สร้างหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานได้ 300 ปี ปัจจัยการสร้างพระและบูรณะปฎิสังขรณ์อื่นๆ เช่น สร้างเพื่อแสดงความรุ่งเรืองของอาณาจักรเป็นอนุสรณ์สงครามเพื่อการทำบุญเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนใช้เป็นสถานศึกษาสร้างเพื่อความศรัทธาในภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหรืออาจสร้างวัดประจำราชการ วัดประจำตระกูล สร้างเป็นอนุสรณ์และอุทิศส่วนกุศล

วัดเริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดียเพื่อเป็นที่ประดิษฐานสถูปเจดีย์ และ เป็นที่พักพระสงฆ์วัดเวฬุวันเป็นอารามหรือวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา วัด หรือ อาราม คือศาสนสถาน เป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุ สามเณร และเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระศาสนา ซึ่งภายในวัดมีวิหาร โบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฎิเมรุ

พิธีพุทธาภิเษก โดยพระปลัดธนวัฒน์ อธิปณ์โญ เจ้าอาวาสวัดหนองแก เจ้าคณะตำบลวังไทร เขต 2 

วัดพุทธศาสนาในประเทศไทยมักจะตั้งอยู่บนพื้นที่เป็นป่าช้าเดิม ก่อนที่จะเกิดขึ้นมาเป็นวัดดำเนินจากสำนักสงฆ์แล้วพัฒนามาเป็นวัด อย่างไรก็ตาม คำว่า สำนักสงฆ์ คือวัดที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งวัดรวมถึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ได้รับพระราชทาน “วิสุงคาม” จึงได้แค่เป็นที่อาศัยแต่ในทางพระวินัยยังไม่สามารถสังฆกรรมได้

รูปแบบของวัดมีองค์ประกอบศิลปกรรมของวัดในแต่ละยุคและท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกันไป เช่น อิทธิพลทางศิลปคตินิยมวัสดุท้องถิ่น เมื่อวัดสร้างเสร็จก็จะต้องมีสถานที่ ที่ พระภิกษุ สามเณร ใช้ทำสังฆกรรมโดยกำหนดขอบเขตตำแหน่ง”สีมา”หรือโบสถ์เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องสังฆกรรมที่เรียกผูกสีมาหรือผูกพัทธสีมาก่อน

การผูกพัทธสีมาหรือปิดทองฝังลูกนิมิต คือ เขตทำสังฆกรรมที่กำหนดตามพุทธานุญาติ คือ การฝังลูกนิมิตเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถเพื่อเป็นเครื่องหมายบอกขอบเขตไว้ประกอบพิธีต่างๆทางศาสนา

ลูกนิมิต

การปิดทองฝังลูกนิมิต นิยมใส่สมุดดินสอเข็มและด้ายลงไปในหลุมนิมิต เนื่องจากมีความเชื่อว่าหากผู้ใดได้ใส่สมุดดินสอลงไปในหลุมนิมิตจะทำให้สติปัญญาดี ความจำดี สติไม่ฟั่นเฟือนก่อนตาย ไม่ทุรน ทุราย สงบ ทำให้สู่สุขสติ เข็มทำให้เป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ด้ายมีชีวิตยืนยาวการปิดทองที่ลูกนิมิตทำให้เป็นคนมีเกียรติยศ มีคนยกย่อง มีชื่อเสียง และ มีรูปร่างผิวพรรณที่งดงาม

ทั้งนี้ การปิดทองฝังลูกนิมิตถือเป็นการทำบุญที่เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่หากใครได้มีโอกาสได้ทำจะทำให้ผู้นั้นได้รับอนิสงส์ผลบุญส่งผลให้มีทรัพย์สินเงินทองไหลมาเทมา ผิวพรรณผ่องใส อายุยืนยาวปราศจากโรคภัย ได้เกิดในภพภูมิที่ดี ชาติตระกูลสูง ในพิธีปิดทองฝังลูกนิมิตทางวัดได้นำวัตถุมงคลมาเข้าร่วมพิธีเป็น “มีดตัดหวาย” และ “พระสังกัจจายณ์” พร้อมด้วยพระเนื้อดินพิมพ์ต่างๆนำมาแจกให้เแก่ผู้มาร่วมพิธีปิดทองลูกนิมิต

พระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ (วัดในเตา) และอาจารย์ฆราวาส อาจารย์เพชร (พ่อครูหมอเฒ่า) อาจารย์เขียว เทพทอง ร่วมพิธีนั่งปรกอฐิษฐานจิต

ในพิธี มีพระเกจิอาจารย์และอาจารย์ฆราวาสนั่งปรกอธิษฐานจิตวัตถุมงคล มีดตัดหวาย ลูกนิมิต เป็นของสูงถ้ามีวิชาและใช้เป็นขับคุณไสยไล่ผี ขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ถึงแม้จะไม่มีวิชาหรือใช้ไม่เป็นแต่ถ้ามีเก็บไว้ในบ้านก็เป็นสิริมงคลแก่บ้าน หรือ ติดตัวไปเป็นมงคล

“นิมิต” คือวัตถุที่เป็นเครื่องหมายบอกกำหนดเขตหรือแดน “สีมา” เป็นเครื่องบอกเขตสีมาที่พระวินัยกำหนดใช้ได้มี 8 อย่างคือภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก ถนนหนทาง แม่น้ำ และหิน แต่ที่นิยมมากคือใช้ศิลาหรือหินเป็นนิมิต      มิมิตที่เป็นศิลาหรือสกัดศิลาให้มีลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 – 38 เซนติเมตรเรียกว่าลูกนิมิตแต่ละสีมาจะใช้ 9 ลูกก่อนทำสังฆกรรมผูกสีมา

อย่างไรก็ตาม งานนี้ถือเป็นงานบุญใหญ่เชื่อกันว่าได้บุญกุศลมากเพราะถือว่าวัดหนึ่งมีโบสถ์หรืออุโบสถได้แห่งเดียวที่กล่าวไว้ว่าลูกนิมิตทีใช้ 9 ลูกนั้น 8 ลูกจะนำฝังไว้ทั้ง 8 ทิศรอบโบสถ์ ลูกละ 1 ทิศ และลูกที่ 9 นำมาฝังในโบสถ์อีก 1 ลูกเป็น “ลูกเอก” เมื่อผูกสีมาพระสงฆ์จำนวน 4 รูปจะเดินตรวจลูกนิมิตที่วางตามทิศต่างๆโดยเริ่มต้นจากทิศตะวันออกเรียกว่า “สวดทักสีมา” เวียนขวาไปจนครบ 8 ลูกนิมิตเมื่อสวดทักนิมิตเสร็จจึงกลับเข้าสู่โบสถ์เพื่อประชุมสงฆ์และสวดประกาศสีมาอีกครั้งแล้วจึงตัดลูกนิมิตลงหลุมเพื่อกลบ จึงเสร็จพิธี                                                                                 มีดตัดหวาย ปิดทองฝังลูกนิมิต

เมื่อได้พุทธาภิเษก มีตัดหวายและพุทธาภิเษกพระสังกัจจายณ์ พระสังกัจจายน์ หรือ พระมหากัจจายนะ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในพระอสีติมหาสาวกของพระโคตมพุทธเจ้า ได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ พระสังกัจจายน์มีพุทธลักษณะอ้วนพุงพลุ้ยหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ พระสังกัจจายน์ เป็นเป็นพุทธสาวกที่มีความรู้เฉลียวฉลาด และ เป็นที่โปรดของพระพุทธองค์ ยิ่งมีบารมี มีอิทธิฤทธิ์ ผู้ใดบูชาพระสังกัจจายน์จึงได้รับพรจากพุทธสาวกอันเป็นเอตทัคคะอย่างสมบูรณ์

พระสังกัจจาย์ขนาดบูชา 

เมื่อกล่าวเรื่องโชคลาภเป็นมหามงคลอุดมด้วยลาภยศ ความเจริญรุ่งเรือง ความเชื่อการกราบไหว้เพระสังกัจจายน์ในคติแบบพุทธศาสนาเเละแบบพระอ้วนของชาวจีน เริ่มจากการตั้งจิตอธิษฐานให้เกิดความมั่นคงแล้วสวดบูชาด้วยพระคาถาว่า

ตั้งนะโม 3 จบแล้วกล่าวคำบูชาว่า

กัจจานะจะมะหาเถโร พุทโธ พุทธานัง พุทธัญจะ สิตัง พุทธะตัง สะมะนุปปัตโต พุทธะโชตัง นะมามิหัง ปิโยเทวะ มะนุสสานัง ปิโยพรหมมา นะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปันนานัง ปิยินทะริยัง นะมามิหัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ปุริโสชะนา อิถีชะนา ราชาภาคินี จิตตัง อาคัจฉาหิ ปิยังมะมะ

จากนั้น ให้ใช้มือขวาลูบท้องพระสังกัจจายน์ เป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ แล้วขอพร

บางตำรากล่าวว่าให้ใช้มือบีบที่หัวเข่าพระสังกัจจายน์ เคล็ดการบูชาพระสังกัจจายน์บูชาด้วยธูป 3 ดอก พร้อมดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอมหรือดอกบัว 7 ดอก บูชาสองเวลา คือ เช้าก่อนไปทำงาน และ เย็นก่อนนอน เพื่อให้ท่านประทานพร โชคลาภ พูลทวีและอีกเคล็ดลับให้นำทองคำเปลวปิดที่พระอุทร(ท้อง) เชื่อว่าจะมีลาภไหลมาเทมาไม่ขาดสาย

จบแล้วนะครับพบกันในครั้งหน้า สวัสดีปีใหม่….ครับ

เรื่อง / ภาพ โดย พรหมพิริยะ จันทร์เพ็ญ