นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม “Road Show ให้ความรู้ด้านการประกันภั ยและการฉ้อฉลประกันภัย ให้แก่ผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชนเชิงรุก” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวมีใจความสำคัญตอนหนึ่ งว่า สำนักงาน คปภ. มีภารกิจสำคัญในการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้ านการประกันภัยให้แก่พี่น้ องประชาชน โดยมีสำนักงาน คปภ. ภาค/จังหวัด เป็นศูนย์กลางเผยแพร่ความรู้ และประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ ด้านการประกันภัยให้แก่ ประชาชนในภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อให้สามารถใช้การประกันภั ยเป็นเครื่องมือในการบริ หารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ในชีวิตประจำวัน
ดังนั้น ประชาชนจึงควรมีความรู้ความเข้ าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขความคุ้ มครองและข้อยกเว้นของกรมธรรม์ ประกันภัย เพื่อให้สามารถเลือกซื้อผลิตภั ณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสมกั บความต้องการในการบริหารความเสี่ ยงได้อย่างเหมาะสม และสำนักงาน คปภ. ยังมีอีกหนึ่งภารกิจสำคั ญในการป้องปรามการกระทำความผิ ดและลงโทษคนกลางประกันภัยที่ กระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้ อฉลประกันภัย ซึ่งกฎหมายประกันชีวิ ตและกฎหมายประกันวินาศภัยได้ กำหนดพฤติกรรม และลักษณะของการกระทำที่อาจเข้ าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งในปัจจุบันพั ฒนาการของเทคโนโลยีและสภาพสั งคมที่เปลี่ยนแปลงไป กลอุบายการฉ้อฉลประกันภัยที่มี ความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ อประชาชนและระบบประกันภั ยในวงกว้างได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่สำนักงาน คปภ. ต้องเสริมสร้างองค์ความรู้ และเกราะป้องกันความเสี่ยงแก่ ประชาชน และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้ องให้แก่พี่น้องประชาชนเพื่อไม่ ให้ตกเป็นเหยื่ อของการกระทำความผิดฉ้อฉลประกั นภัย
สำหรับโครงการส่งเสริมให้ความรู้ ด้านการประกันภัย และการฉ้อฉลประกันภัย ให้แก่ผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชนเชิงรุก ณ จังหวัดนครสวรรค์ ได้มีการจัดกิจกรรมตามโครงการดั งกล่าวทั้งสิ้น 3 วัน ดังนี้ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 เป็นกิจกรรม Road Show ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีการบรรยายให้ความรู้แก่นิ สิตนักศึกษาเกี่ยวกับหลักการเบื้ องต้นของการประกันภัย บทบาทและหน้าที่ของสำนักงาน คปภ. การประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกั บการฉ้อฉลประกันภัย พร้อมกันนี้ได้มีกิจกรรมให้นิสิ ตนักศึกษาร่วมสนุกลุ้ นตอบคำถามด้วยกิจกรรม Kahoot ที่มุ่งเน้นส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่วิ ทยากรได้บรรยายไปข้างต้น และวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เป็นกิจกรรม Road Show ณ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฉิม จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีกิจกรรมให้น้อง ๆ ร่วมสนุกตอบคำถามเกี่ยวกั บความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ ยวกับประกันภัย ผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เกี่ยวข้ องกับการประกอบธุรกิ จขนาดกลางและขนาดย่อม
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมให้น้อง ๆ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึ กษาตอนต้นและตอนปลาย ร่วมสนุกในกิจกรรม “Bingo OIC” โดยให้น้อง ๆ รับชมคลิปที่เกี่ยวข้องกั บการแนะนำองค์กร บทบาท หน้าที่และช่องทางการติดต่อสำนั กงาน คปภ. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ การประกันภัยอุบัติเหตุ รวมถึงหลักการเบื้องต้นของการฉ้ อฉลประกันภัย เพื่อนำคำศัพท์ประกันภัยจากเรื่ องดังกล่าวที่น่าสนใจมาร่วมสนุ กเพื่อเล่นเกมบิงโกคำศัพท์ประกั นภัยลุ้นรับของรางวัล โดยน้อง ๆ ได้ให้การตอบรับและร่วมกิ จกรรมกันอย่างสนุกสนาน
สำหรับกิจกรรมการสัมมนา “โครงการส่งเสริมให้ความรู้ด้ านการประกันภัย และการฉ้อฉลประกันภัย ให้แก่ผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และประชาชนเชิงรุก” โดยนายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการด้ านกฎหมายและตรวจสอบ ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานเปิ ดงานดังกล่าว เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมโฟทูซี เดอะชิคโฮเต็ล จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีนางสาวชุติพร เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวั ดนครสวรรค์ ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ ซึ่งการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงเช้าจะเป็นการเสวนาในหั วข้อ “การประกันภัยสำหรับธุรกิจ SME” และ “การฉ้อฉลประกันภัย” ส่วนในช่วงบ่ายเป็ นการบรรยายในหัวข้อ “กฎหมายและหลักการประกันภัย” และ“การฉ้อฉลประกันภัย” โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้ วย ผู้ประกอบการ หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานคลังจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานธนารักษ์จังหวั ดนครสวรรค์ สำนักยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อม ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สภาหอการค้าจังหวัดนครสวรรค์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย สมาคมนายหน้าประกันภัยไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ ปรึกษาการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ตลอดจน ตัวแทน นายหน้าประกันภัย และอาสาสมัครประกันภัย เข้าร่วมงานสัมมนาเป็นจำนวนมาก
โดยโครงการดังกล่าวมีวัตถุ ประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริ มความรู้ด้านการประกันภัยให้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs เกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีแนวโน้มที่ การฉ้อฉลประกันภัยจำนวนเพิ่ มมากขึ้น สืบเนื่องจากมีการนำวิธี การทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในธุ รกิจประกันภัยมากขึ้น ทำให้เกิดการฉ้อฉลประกันภัยได้ หลายช่องทาง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่ อเบี้ยประกันภัยที่อาจปรับสูงขึ้ นได้ในอนาคต ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชน ผู้ประกอบการ คณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลากรของโรงเรียนและมหาวิ ทยาลัย หัวหน้าส่วนราชการ และผู้แทนภาครัฐ รวมทั้งเอกชน ให้มีความเข้าใจภารกิจของสำนั กงาน คปภ. และเป็นการเสริมสร้างความรู้ด้ านการประกันภัยและการฉ้อฉลประกั นภัย เสริมความรู้เข้าใจในเงื่ อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภั ยประเภทต่าง ๆ ตลอดจนตระหนักถึ งผลกระทบของการฉ้อฉลประกันภั ยและร่วมกันป้องกันการฉ้ อฉลประกันภัย เพื่อเป็นเกราะป้องกันและคุ้ มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้ เอาประกันภัยต่อไป
ทั้งนี้ หากประชาชนไม่ได้รับความเป็ นธรรมด้านประกันภัยหรือมีปั ญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสิ นไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนดั งกล่าวมายังสำนักงาน คปภ. ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาข้อร้ องเรียนด้านการประกันภัยหลายรู ปแบบตามความต้องการและความซับซ้ อนของเรื่อง ไม่ว่าจะการพิจารณาข้อร้องเรี ยนโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ ไกล่เกลี่ยที่เป็นบุคคลภายนอกที่ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้ านการประกันภัย หรือการระงับข้อพิพาทโดยอนุ ญาโตตุลาการที่ขึ้นทะเบียนกั บสำนักงาน คปภ. ซึ่งเป็นทางเลือกให้แก่ ประชาชนผู้เอาประกันภัยในการใช้ กระบวนการระงับข้อพิพาทที่มี ความเป็นธรรมและรวดเร็วกว่ าการดำเนินคดีทางศาล