นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสริมสร้ างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสำนั กงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริ มการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) และสื่อมวลชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านประกั นภัยสู่ประชาชน “CEO X PRESS” ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกั บบทบาท ภารกิจของสำนักงาน คปภ. รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างความสั มพันธ์ที่ดีระหว่างสำนักงาน คปภ. และสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้อง ThreeSixty Jazz Lounge ชั้น 32 โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพฯ
เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจประกันภัยในปี 2568 สำนักงาน คปภ. ประมาณการว่า ภาพรวมธุรกิจประกันภัย (ม.ค.-ธ.ค.2568) จะมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 980,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต 3.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน (ม.ค.-ธ.ค.2567) และคาดว่าในปี 2569 เบี้ยประกันภัยรับโดยตรงทั้ งระบบน่าจะแตะที่ 1,000,000 ล้านบาท ในภาพรวมธุรกิจ ประกันภัยสุขภาพมีความโดดเด่นที่ สุด สำนักงาน คปภ. ประมาณการว่า สิ้นปี 2567 ประกันภัยสุขภาพจะมีเบี้ยประกั นภัยรับโดยตรงที่ 100,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่ องในปี 2568 ทั้งนี้ ภาคธุรกิจประกันภัยยังคงต้องติ ดตามปัจจัยท้าทายและปัจจั ยความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิ จในประเทศและเศรษฐกิจโลก ซึ่งส่งผลต่อระดับอัตราดอกเบี้ย (Yield Curve) ที่ถึงแม้ว่าในช่วงที่ผ่ านมาจะมีทิศทางที่ปรับสูงขึ้ นแต่ยังต้องมีความระมัดระวั งในการเลือกลงทุนในสินทรัพย์แต่ ละประเภท รวมทั้งสงครามการค้าและความขั ดแย้งระหว่างประเทศที่ส่งผลต่ ออัตราเงินเฟ้อและอำนาจซื้ อของประชาชน ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มชะลอการใช้จ่ ายมากขึ้น รวมถึงความไม่แน่ นอนของสถานการณ์การเมืองทั้ งในและต่างประเทศที่ส่งผลต่ อความเชื่อมั่นของผู้บริ โภคและนักลงทุน โดยภาคธุรกิจต้องติดตามอย่ างใกล้ชิดและสามารถปรับเปลี่ ยนทิศทางกลยุทธ์การดำเนิ นงานของบริษัทประกันภั ยไปตามสถานการณ์อย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัย มีการดำเนินการเตรียมความพร้ อมเพื่อรองรับกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในเรื่องของการบังคั บใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิ นฉบับที่ 17 ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงิ นฉบับที่ 17 นี้ สะท้อนให้เห็นงบการเงินที่แท้ จริงว่า บริษัทประกันภัยมีกำไรในแต่ละปี มากน้อยเพียงใด มีการกระจายรายได้ และค่าใช้จ่ายออกไปอย่างไร มีการจัดกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ เพื่อให้นักลงทุนได้เห็ นภาพงบการเงินได้ชัดเจนมากยิ่ งขึ้น ซึ่งสำนักงาน คปภ. มองว่าเรื่องความมั่นคงกั บงบการเงินที่ได้มาตรฐานต้ องดำเนินการควบคู่ไปพร้อมกัน
อีกประเด็นที่อยู่ในกระแสข่ าวและสื่อมวลชนเกี่ยวกับการยื่ นคำทวงหนี้ต่อกองทุนประกันวิ นาศภัยในกรณีของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่สิ้นสุดการยื่นคำทวงหนี้ ไปเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567 พบว่า มีเจ้าหนี้ยื่นคำร้องเข้ ามาประมาณ 250,000 ราย และมีมูลหนี้ที่ต้องชำระประมาณ 22,000 ล้านบาท โดยกองทุนฯ มีรายได้จากเงินสมทบปีละประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้บูรณาการการทำงานร่วมกั บกองทุนประกันวินาศภัยอย่างใกล้ ชิด โดยกองทุนฯ ได้พยายามหาแหล่งเงินทุนเพิ่ มเติม เช่น การกู้ยืมเงิน และอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึ กษาทางการเงินเพื่อเข้ามาช่วยวิ เคราะห์แนวทางการบริหารจั ดการการชำระหนี้ของกองทุนฯ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติงานให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประเด็นถัดมาที่อยากจะสื่อสารกั บสื่อมวลชนไปยังสาธารณชนคือ ทิศทางการทำประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้ า โดยส่วนใหญ่บริษัทประกันภัยจะยื่ นขออนุมัติกรมธรรม์แต่ละฉบับ ซึ่งสำนักงาน คปภ. พร้อมที่จะอนุมัติให้โดยเร็ว แต่บริษัทประกันภัยที่ยื่นขออนุ มัติต้องมีการดำเนินการควบคุ มความเสี่ยงเพื่อให้สำนักงาน คปภ. มั่นใจว่ามีการบริหารจัดการ ตั้งแต่กระบวนการการเสนอขาย การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การบริหารความเสี่ยง และการจัดการเรื่องร้องเรียน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการบริหารจัดการประกันภั ยรถยนต์ไฟฟ้า ประเด็นต่อมาที่อยากจะสื่ อสารไปถึงประชาชน คือ กรณีบริษัทหรือตัวแทนนายหน้ าขายประกันภัยต่างชาติ ที่มีการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกั นภัยในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งบริษัทต่างชาติเหล่านี้ ไม่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนั กงาน คปภ. เนื่องจากไม่ได้จดทะเบี ยนในประเทศไทย แต่หากประชาชนได้รับความเดือดร้ อนด้านประกันภัยจากบริษัทเหล่ านี้ ทางสำนักงาน คปภ. ก็มีมาตรการดำเนินการร้องทุกข์ กล่าวโทษ
ที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่ อตำรวจกองปราบปรามไปหลายคดีแล้ว ดังนั้น จึงอยากเตือนประชาชนให้ระมั ดระวังการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ประกันภัยจากบริษัทหรือตั วแทนนายหน้าขายประกันภัยต่ างชาติที่ไม่ได้จดทะเบี ยนในประเทศไทย ประเด็นสุดท้ายคือเรื่อง การประกันภัยสุขภาพ ซึ่งในขณะนี้เบี้ยประกันภัยสุ ขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่ อเนื่อง จากอัตราเงินเฟ้อทางการแพทย์ที่ เพิ่มสูงขึ้น และค่ารักษาพยาบาลที่เกิ นความจำเป็นทางการแพทย์ ทำให้ประชาชนเข้าถึงการประกันภั ยสุขภาพได้ยาก สำนักงาน คปภ. จึงได้หารือเร่งด่วนกับภาคธุรกิ จเพื่อหาแนวทางควบคุมค่าใช้จ่ ายด้านการรักษาพยาบาลให้เหมาะสม และต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ เอาประกันภัย โดยอาจมีการกำหนดหลักเกณฑ์ให้มี ค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุสัญญาเพิ่ มเติมกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกั นภัย (Renewal) หากผู้เอาประกันภัยมีการเคลมเกิ นความจำเป็นทางการแพทย์ หรือมีการเคลมด้วยกลุ่มโรคป่ วยเล็กน้อยทั่วไป (Simple Diseases) ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป และมีอัตราการเรียกร้องค่าสิ นไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัย แต่ละรายในรอบปีกรมธรรม์ประกั นภัยตั้งแต่ 200% ของเบี้ยประกันภัย ซึ่งสำนักงาน คปภ. อยู่ระหว่างการพิ จารณาแนวทางการดำเนินงานที่ เหมาะสม เนื่องจากเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกวัย สามารถเข้าถึงระบบประกันภัยสุ ขภาพได้อย่างแท้จริงภายใต้เบี้ ยประกันภัยที่เป็ นธรรมและเหมาะสม