นายโสรัจจ์ แรกสกุลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) ในฐานะนายทะเบียนได้ ออกประกาศนายทะเบียน เรื่อง กรณีที่ถือว่าเป็นการรับประกั นภัยรายใหม่และการก่อภาระผูกพั นเพิ่มเติมของบริษัทประกันชีวิ ต/ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ อกำหนดกรณีที่ถือว่าเป็นการรั บประกันภัยรายใหม่และกรณีที่ถื อว่าเป็นการก่อภาระผูกพันเพิ่ มเติม อันเป็นการขยายธุรกิจในระหว่ างที่บริษัทดำเนิ นการตามโครงการเพื่อแก้ ไขฐานะเงินกองทุนที่ได้รั บความเห็นชอบตามมาตรา 27/6 แห่งพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี และเริ่มมีผลให้ใช้บังคับตั้ งแต่วันดังกล่ าวโดยประกาศนายทะเบียนทั้ง 2 ฉบับ ดังกล่าว จะเป็นกรอบการกำกับดูแลเชิงป้ องกันเพื่อไม่ให้บริษัทประกันชี วิต/ประกันวินาศภัย ที่อยู่ระหว่างการแก้ไขฐานะเงิ นกองทุน เพิ่มความเสี่ยงจากการประกอบธุ รกิจในระหว่างที่ดำรงเงินกองทุ นไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะนำไปสู่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้ นต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชน
ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่ อฐานะการเงินและความมั่ นคงของบริษัทประกันภัย ซึ่งจะทำให้บริษัทประกันภัยได้ ทราบว่า กรณีใดบ้างที่ถือว่าเป็ นการขยายธุรกิจที่ต้องห้ ามตามกฎหมายที่ไม่สามารถดำเนิ นการได้ในระหว่างที่บริษัทประกั นภัยดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนิ นการตามโครงการเพื่อแก้ ไขฐานะเงินกองทุน จนกว่าจะสามารถดำรงเงินกองทุ นได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ถือว่ าเป็นการรับประกันภัยรายใหม่ นอกจากการห้ามเพิ่มการรับประกั นภัยรายใหม่แล้ว ยังจะครอบคลุมถึงการต่ออายุ กรมธรรม์รายเดิม และการต่ออายุสัญญาประกันภัยต่ อในกรณีที่ผู้บริษัทผู้รับประกั นภัยต่อ (Inward Reinsurance) ด้วย สำหรับกรณีที่ไม่รวมเป็นการรั บประกันภัยรายใหม่ เช่น การต่ออายุสัญญาเพิ่มเติมแนบท้ ายกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ยังมี ผลบังคับ หรือการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภั ยที่มีเงื่อนไขการรับประกั นการต่ออายุเมื่อครบรอบปี กรมธรรม์ (Guarantee Renewal) เป็นต้น
นอกจากนี้ ตามประกาศนายทะเบียนทั้ง 2 นอกจากการกำหนดขอบเขต กรณีที่ถือว่าเป็นการรับประกั นภัยรายใหม่ข้างต้นแล้ว ยังครอบคลุมรวมถึงกรณีห้ามบริษั ทประกันภัยจะเข้าไปทำสั ญญาบางประเภทกับบุคคลใดภายหลั งถูกห้ามขยายธุรกิจตามมาตรา 27/6 ที่จะส่งผลให้บริษัทประกันภัยมี ภาระผูกพันต้องจ่ายเงินหรือทรั พย์สินอื่นใดให้แก่บุคคลใดด้วย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันเป็นการก่อภาระผู กพันเพิ่มเติมที่จะกระทบต่อเงิ นกองทุนและฐานะการเงินด้วย เว้นแต่ สัญญาที่ทำขึ้นเพื่อประโยชน์ ในการดำเนินการเพื่อแก้ ไขฐานะเงินกองทุนฯ ตามโครงการฯ เช่น สัญญาว่าจ้างผู้สอบบัญชีหรือนั กคณิตศาสตร์ เพื่อตรวจสอบและประเมิ นฐานะและการดำเนินการของบริษัท โดยมีค่าจ้าง ค่าตอบแทน และผลประโยชน์ที่ เหมาะสมตามสภาวะตลาดและเป็นปกติ ทางการค้า หรือสัญญาที่เกี่ยวข้องกับค่ าใช้จ่ายประจำเพื่อดำเนินธุรกิ จปกติ เป็นต้น อันเป็นการสร้างความยืดหยุ่นให้ บริษัทประกันภัยที่อยู่ระหว่ างการดำเนินการตามโครงการแก้ ไขฐานะเงินกองทุนสามารถดำเนิ นการตามประกาศให้กลับมามี ฐานะการเงินที่มั่นคงหรือมีเงิ นกองทุนเป็นไปตามที่ กฎหมายกำหนดและส่งผลต่อการเสริ มสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ประชาชนและต่อระบบประกันภัย ทั้งนี้ การออกประกาศนายทะเบียนทั้ง 2 ฉบับ จะไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิต่าง ๆ ของผู้เอาประกันภัยที่มีอยู่ ตามกรมธรรม์แต่อย่างใด
“การออกประกาศทั้ง 2 ฉบับ เป็นการเพิ่มประสิทธิ ภาพในการกำกับดูแลของสำนักงาน คปภ. เพื่อให้สามารถตอบสนองกั บการเปลี่ยนแปลงอุ ตสาหกรรมการบริการของภาคธุรกิ จประกันภัย ซึ่งนอกจากไม่เป็นอุปสรรคต่ อการดำเนินธุรกิจปกติแล้ว ยังมุ่งเน้นการคุ้มครองสิทธิ ประโยชน์ของประชาชนในฐานะผู้บริ โภค ประกาศนายทะเบียนดังกล่าว จึงมีหลักการที่สอดรับกับกฎหมาย อีกทั้ง ยังเป็นการป้องกันไม่ให้บริษั ทประกันภัยที่อยู่ระหว่างการแก้ ไขปัญหาฐานะเงินกองทุน รับประกันภัยรายใหม่จากประชาชน หรือก่อภาระผูกพันเพิ่มเติม ซึ่งถือเป็นการเพิ่มความเสี่ ยงของบริษัทและอาจส่งผลกระทบต่ อประชาชนในวงกว้างได้ ตลอดจนเป็นการช่วยสร้างและฟื้ นฟูความเชื่อมั่นต่ อประชาชนในฐานะผู้เอาประกันภั ยต่ออุตสาหกรรมประกันภัยและต่ อระบบการกำกับดูแลการประกอบธุ รกิจด้วย” ผู้ช่วยเลขาธิการสายตรวจสอบ กล่าวในตอนท้าย