หม่อนไหมสินค้ามูลค่าสูง“นฤมล”เห็นช่องพัฒนาคุณภาพดันเป็นSoft Powerแปรรูปเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร

“นฤมล”ประกาศยกระดับหม่อนไหม ดันเป็น Soft Power แปรรูป เพิ่มมูลค่า ขยายพื้นที่ปลูก สร้างรายได้ให้เกษตรกร

30พ.ย.67/ นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และการยกระดับสินค้าและบริการมูลค่าสูง ของกรมหม่อนไหม ณ บริษัทเจ.ที.ซิลค์ จำกัด สันกำแพง ตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัตเชียงใหม่

ทั้งนี้ นางนฤมล กล่าวว่า กรมหม่อนไหม เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวงพระบรมราชินีนาถ ดำเนินงานสนองพระระราทดำริบริหารจัดการต้านหม่อนไหมแบบครบวงจร มีศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ 25 ศูนย์ โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯเชียงใหม่ มีการกิจในการอนุรักษ์ วิจัยและพัฒนา ผลิตพันธุ์หม่อนและไหมพันธุ์ดี เพื่อให้บริการ รวมทั้งส่งเสริมและดูแลเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ครอบคลุมพื้นพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสองสอน สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ มีเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม รวมทั้งสิ้น 97 ราย พื้นที่ปลูกหม่อน 205 ไร่

อย่างไรก็ตามปัจจุบันเกษตรกรยังเข้าสู่อาชีพหม่อนไหมค่อนช้างน้อย และต้นทุนการผลิตในปีแรกค่อนข้างสูง อีกทั้งปัจจุบันผู้ประกอบการมีความต้องการรับซื้อผลผลิตรังไหมจากเกษตรกร 5,000 ตันต่อปี แต่เกษตรกรผลิตรังไหมได้เพียง 2,000 ตันต่อปี ยังเป็นการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด กรมหม่อนไหมจึงได้ดำเนินการตามแนวนโยบาย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” เพื่อแก้ปัญหาและสร้างแรงสูงใจให้กับเกษตรกร ได้เข้าสู่อาชีพหม่อนไหมเพิ่มมากขึ้น ผ่านการขับเคลื่อนบูรณาการร่วมกัน ระหว่างภาคประชาชน ภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ความร่วมมืองานวิจัยพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ไหม เพื่อให้ได้ไหมพันธุ์ใหม่ที่มีความเหมาะสม การนำนวัดกรรม เทคโนโลยี มาใช้ในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อเพิ่มผลผลิตสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า การถ่ายทอดองค์ความรู้และวางแผนการผลิตร่วมกัน ระหว่างเกษตรกรผู้ผลิตและผู้รับซื้อเพื่อให้ไห้ได้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพตามมาตรฐานที่ตลาดต้องการ

ทั้งนี้ จากการดำเนินงานของศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เชียงใหม่ ที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรสามารถผลิตรังไหมได้จ้านวน 1.2 ต้นต่อปี สร้างรายได้ 225,264 บาทต่อปี ปริมาณการผลิตใบหมอนจำหน่ายจำนวนวน 10 ต้นต่อปี รายได้ 102,576 บาทต่อปี และยังคงเดินหน้าขยายผลไปสู่เกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเพิ่มขึ้น”การส่งเสริมอาชีพเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นภารกิจที่สำคัญของกระทรวงเกษตรฯ จึงได้มอบหมายให้กรมหม่อนไหม ขับเคลื่อนนโยบายตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ที่เน้นแนวคิดในการบริหารจัดการผลผลิตที่มีเป้าหมายให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอน

ที่สำคัญ มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ และทำงานร่วมกับภาคเอกชนเพื่อให้ทราบถึงความต้องการของตลาด วางแผนการผลิตร่วมกัน ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านนับว่าประสบความสำเร็จ มีการแปรรูปสินค้าผลิตภัณฑ์จากไหมที่ได้มาจากลุ่มเกษตรกร และผลิตภัณฑ์โปรตีนจากรังไหมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตสมัยไหม่ ทำไห้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีชื่อเสียง รวมถึงการนำโมเดล BCG มาใช้ในการผลิตทำให้เป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง ผลิตและแปรรูปสินค้าทางการเกษตรที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้” นางนฤมล กล่าว

สำหรับบริษัท เจ.ที. ซิลค์ จำกัด ก่อตั้งในปี 2546 ดำเนินธุรกิจปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม ผลิตและจำหน่ายผลิตลิตภัณฑ์โปรตีนไหมเสริมความงาม โดยกรมหม่อนไหม ให้การสนับสนุนพันธุ์หม่อนและผลิตไขไหมพันธุ์ดี ให้ความรู้ด้านการปลูกหม่อนเสียงไหมให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน รวมถึงการรับรองมาตรฐานแปลงหม่อนและรังไหมอินทรีย์ ซึ่งแผนการดำเนินงานในอนาคต กรมฯจะขยายพื้นที่ส่งเสริมการปลูกหม่อนในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือตอนบน และพัฒนาสินค้าให้เป็นสินสินค้าอินทรีย์ เพื่อสร้างความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรต่อไป

จรัญ ชุ่มเงิน รายงาน