ในยุคที่อุ ตสาหกรรมเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ ทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่ างรวดเร็ว ความยั่งยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ (Sustainable Animal Welfare) เป็นหัวใจสำคัญของการพั ฒนาระบบอาหารที่มั่นคง ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามเส้นทางสู่เป้าหมายการปล่ อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) เพื่ออนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกชี วิตบนโลก
การเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันกำลั งเผชิญความท้าทายจากปัจจั ยหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความต้องการอาหารที่ยั่งยืน และแรงผลักดันด้านสวัสดิภาพสั ตว์ การสร้างสมดุลระหว่างการเพิ่ มผลผลิต การรักษาสิ่งแวดล้อม และดูแลสัตว์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตลอดจนเป็นแรงกระตุ้นให้การเลี้ ยงสัตว์ปีกเปลี่ยนผ่านสู่ เกษตรอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน
บริษัทเกษตรอุตสาหกรรมชั้นนำทั่ วโลกรวมถึงบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตระหนักดีถึงความสำคั ญของการเปลี่ยนผ่านจากการเลี้ ยงสัตว์แบบดั้งเดิมสู่การทำฟาร์ มอัจฉริยะ (Smart Farm) ด้วยการนำแนวทาง “ความยั่งยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ ” มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพและรักษาสมดุลระหว่างคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม จากการนำหลักการสวัสดิภาพสัตว์ 5 ประการ (Five Freedoms) ซึ่งเป็นพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ สู่ความยั่งยืน มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสัตว์ที่ ให้ความสำคัญในเรื่องต่างๆ ดังนี้
•อิสระจากความหิวกระหาย
•อิสระจากความไม่สบายกาย
•อิสระจากความเจ็บปวดและโรคภัย
•อิสระในการแสดงพฤติ กรรมตามธรรมชาติ
•อิสระจากความกลัวและความเครียด
หลักสวัสดิภาพสัตว์ จะช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะ ป้องกันโรค และทำให้สัตว์มีคุณภาพชีวิตที่ ดีขึ้น ส่งผลให้ได้เนื้อสัตว์ที่มีคุ ณภาพสูงและลดผลกระทบต่อสิ่ งแวดล้อม เช่น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อีกทั้งเกษตรกรยังสามารถลดต้นทุ นในระยะยาวและเพิ่มผลผลิตได้อย่ างยั่งยืน
ซีพีเอฟ ยังให้ความสำคั ญในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น Internet of Things (IoT), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเซ็นเซอร์อัตโนมัติมาใช้ ในกระบวนการจัดการฟาร์มแบบ Smart Farm ช่วยเพิ่มความแม่นยำและเรี ยลไทม์ในการติดตามสุขภาพสัตว์ การจัดการ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ลดความเครียดและป้องกันการเกิ ดโรคระบาด พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานสวัสดิ ภาพสัตว์สู่ระดับสากล
นอกจากนี้ การใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และการวิเคราะห์ข้อมู ลในระบบคลาวด์ (Cloud-based Data Management) ช่วยให้สามารถบริหารจัดการฟาร์ มได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้ าเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานได้ ในระยะยาว
ในขณะเดียวกันประเทศผู้นำเข้ าอาหารยังได้เพิ่มเงื่อนไขด้ านความรับผิดชอบในการจัดหาวัตถุ ดิบ เช่น การใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และถั่วเหลืองจากแหล่งเพาะปลู กที่ถูกต้องตามกฎหมาย ตรวจสอบย้อนกลับได้ และไม่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ ทำลายป่า โดยซีพีเอฟ ตั้งเป้าหมาย “Zero Deforestation” ภายในปี 2568 เพื่อการจัดหาวัตถุดิบในห่วงโซ่ อุปทานอย่างยั่งยืน
ความยั่งยืนด้านสวัสดิภาพสัตว์ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุ ตสาหกรรมปศุสัตว์ ที่ช่วยเสริมสร้างความมั่ นคงทางอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิดนี้ ทุกชีวิตจะสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างยั่งยืนโดยไม่เบียดเบียนซึ่ งกันและกัน เพื่อสมดุลในอนาคตที่ดีกว่ าระหว่าง คน สัตว์ และโลกของเรา./
นายสัตวแพทย์พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล
รองผู้อำนวยการด้านมาตรฐานฟาร์ มและข้อกำหนดลูกค้า
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)