ท่ามกลางแรงกดดันด้ านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้แนวคิด “America First” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์ร่ วมกัน โดยมุ่งเน้นการนำเข้าวัตถุดิ บอาหารสัตว์ แทนการเปิดตลาดนำเข้าเนื้อหมู จากสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลเสียร้ายแรงต่ อเกษตรกรและความปลอดภั ยทางอาหารในประเทศไทย
นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แม้สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะกดดันให้ไทยนำเข้ าสินค้าเกษตร เช่นเนื้อหมู เพื่อลดการขาดดุลกับไทย แต่ การยอมรับข้อเสนอนี้จะสร้ างผลกระทบมหาศาล เนื่องจากเนื้อหมูจากสหรัฐฯ มีสารเร่งเนื้อแดงเกินมาตรฐานที่ กฎหมายไทยกำหนด ซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพของผู้บริ โภค
“รัฐบาลไทยต้องยืนหยัดปกป้ องอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกว่า 2 แสนคนและรักษาความมั่ นคงทางอาหารของประเทศให้เข้มแข็ ง” นายสิทธิพันธ์กล่าว พร้อมแนะนำแนวทางที่เป็ นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย นั่นคือการนำเข้าวัตถุดิ บอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลื อง
ประเทศไทยต้องการข้าวโพดเลี้ ยงสัตว์ถึง 8.9 ล้านตันต่อปี แต่ยังขาดแคลนถึง 4 ล้านตัน แม้จะรับซื้อผลผลิตของชาวไร่ ไทยจนหมดแล้ว ขณะที่ความต้องการถั่วเหลื องและกากถั่วอยู่ที่ 5-6 ล้านตันต่อปี แต่ไทยสามารถผลิตได้เพียง 23,000 ตัน หรือไม่ถึง 1% ของความต้องการ การนำเข้าวัตถุดิบนี้จากสหรัฐฯ ซึ่งมีมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน เช่น GAP (Good Agricultural Practices) และ RTRS (Responsible Soy) ไม่เพียงตอบสนองความต้ องการของตลาดไทย แต่ยังช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่ งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะยุโรปที่มีข้อกำหนดด้ านสิ่งแวดล้อมเข้มงวดด้วย
นอกจากนี้ การเลือกนำเข้าวัตถุดิบอาหารสั ตว์แทนการนำเข้าเนื้อหมู ยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้ อมในประเทศ เช่น ปัญหา PM2.5 ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการลั กลอบเผาแปลงเกษตร พร้อมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ เช่น การสนับสนุนอุตสาหกรรมไก่ส่ งออกของไทยให้สามารถแข่งขั นในตลาดยุโรปที่ต้องการมาตรฐาน CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)
“นี่คือทางออกที่ยั่งยืนที่สุด ปกป้องสุขภาพคนไทย คุ้มครองอาชีพเกษตรกร และสนับสนุนเศรษฐกิ