ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลนบุ คลากรทางการแพทย์และจำนวนผู้ป่ วยที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นปั ญหาสำคัญในวงการสาธารณสุข องค์กรด้านเฮลท์แคร์และผู้ให้ บริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกจึ งจำเป็นต้องพั ฒนาและหาแนวทางในการให้บริ การสาธารณสุขที่ดีกว่า พร้อมๆไปกับการตระหนักถึ งความสำคัญในการลดผลกระทบต่อสิ่ งแวดล้อม ในบทความนี้จะขอนำทุกท่านไปอั ปเดต 10 เทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปี ค.ศ. 2025 ที่จะมาช่วยส่งมอบการดูแลรั กษาที่ดีกว่าให้กับผู้คนได้ มากขึ้นอย่างยั่งยืน
1. Generative AI: เทคโนโลยีที่มาเป็นผู้ช่วยเพื่ อลดเวลาทำงาน
เมื่อจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ไม่เพียงพอและต้องรับภาระงานที่ หนัก ผู้บริหารชั้นนำในวงการเฮลท์ แคร์จึงหันมาใช้เทคโนโลยีอั ตโนมัติเพื่อลดภาระงานให้กับบุ คลากรทางการแพทย์ โดยจากผลสำรวจ 2024 Philips Future Health Index report เผยให้เห็นว่า 92% ของผู้บริหารชั้นนำในวงการเฮลท์ แคร์เชื่อว่า เทคโนโลยีอัตโนมัติเป็นกุ ญแจสำคัญในการช่วยแก้ไขปัญหาด้ านการขาดแคลนบุคลากร โดยเทคโนโลยีอัตโนมัติสามารถช่ วยลดงานและกระบวนการที่ซ้ำซ้ อนได้ ในขณะที่กว่าร้อยละ 90 ยังเชื่อว่าเทคโนโลยีอัตโนมัติ จะลดภาระงานด้านเอกสาร ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มี เวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ มากขึ้น
Generative AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือที่ทรงพลั งในการสนับสนุนเทคโนโลยี ทางการแพทย์ ช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพการทำงานของบุ คลากรทางการแพทย์ ตลอดระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ดังนั้น 85% ของผู้บริหารชั้นนำในวงการเฮลท์ แคร์ทั่วโลกจึงหันมาลงทุนหรือมี แผนที่จะลงทุนใน Generative AI ภายในสามปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าเทรนด์นี้จะมาแรงในช่ วงปี 2025 นี้
ในปัจจุบัน Generative AI สามารถเป็นผู้ช่วยเสมือนจริงที่ ช่วยลดระยะเวลาทำงานให้กับบุ คลากรทางการแพทย์ ด้วยโมเดลด้านภาษาขนาดใหญ่ที่ มาช่วยจัดระเบียบบันทึกทางคลีนิ กและช่วยสื่อสารข้อมูลผู้ป่ วยระหว่างทีมต่างๆ ให้เป็นไปได้อย่างง่ายดาย สำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง Generative AI สามารถช่วยด้านการจั ดการรายงานประวัติผู้ป่ วยจำนวนมาก เพื่อให้ทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ ป่วยสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึ กของผู้ป่วยได้อย่ างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยจั ดงานรายงานและประมวลผลข้อมู ลทางการแพทย์ที่ซับซ้อนให้เข้ าใจง่ายได้อีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ามามีส่ วนร่วมในการดูแลรักษาตัวเองได้
2. ทำให้การวินิจฉัยที่ซับซ้อนเป็ นเรื่องง่ายด้วย AI
แม้ว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะช่วยปรับปรุงการการทำงานด้ านบริหารจัดการและเพิ่มการมีส่ วนร่วมของผู้ป่วยได้อย่างมาก แต่บทบาทของ AI ในด้านสาธารณสุขไม่ได้มีเพี ยงแต่ในด้านการทำงานระบบอัตโนมั ติ แต่ AI ยังสามารถช่วยยกระดับทักษะของบุ คลากรทางการแพทย์ได้อีกด้วย ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ที่ มีประสบการณ์ เฉพาะทางขาดแคลนในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลก แต่หากมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้จะช่วยให้การวินิจฉั ยที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องง่ ายขึ้น และช่วยให้บุคลากรรุ่นใหม่ สามารถให้การดูแลรักษาที่มี ประสิทธภาพได้อย่างมั่นใจ
ตัวอย่างเช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี AI ทำให้การสแกนหัวใจด้วยเครื่ องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ cardiac CT เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุ ขสามารถเข้าถึงเครื่องมือได้ มากขึ้น และช่วยเพิ่มศักยภาพและส่ งมอบบริการในการดูแลรักษาผู้ป่ วยโรคหัวใจได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์ที่มี ประสบการณ์น้อย ยังสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ เฉพาะทางที่ส่วนกลางผ่ านระบบทางไกล หรือการฝึกอบรมผ่านทางออนไลน์ เพื่อให้มั่นใจในการดูแลรักษาผู้ ป่วยที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การนำ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการรักษามะเร็ งยังสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะในด้านช่วยลดความเสี่ ยงของโรคหัวใจที่เกิดจากการรั กษามะเร็ง อย่างการใช้รังสีรักษาและเคมี บำบัด โดยงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่เป็นผู้ใหญ่ไม่ ว่าจะเป็นมะเร็งชนิดใดที่ผ่ านการรักษามะเร็ง มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหั วใจสูงถึง 37% [1] ด้วยเทคโนโลยี AI ล่าสุดสามารถตรวจจับสั ญญาณของการเป็นพิษต่อหัวใจ (cardiotoxicity ) ได้เร็วขึ้นในระหว่างการรักษา ผ่านระบบตรวจจับอัตโนมัติ ในการวัดค่าการทำงานของหัวใจ (Echocardiographic) และช่วยปรับปรุงกระบวนการทำซ้ำ และลดเวลาในการศึกษาผล ช่วยให้กระบวนการรักษามีประสิ ทธิภาพมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการรักษาล่าช้า ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งที่ ต้องเผชิญกับโรคหัวใจที่รุ นแรงหลังการรักษา
3. ศัลยกรรมยุคใหม่
การปฏิวัติเงียบๆ ในวงการศัลยกรรมได้เริ่มแผ่ ขยายเป็นวงกว้าง เมื่อการผ่าตัดเล็ก (minimal invasive) กำลังเข้ามาแทนที่การผ่าตัดใหญ่ แบบดั้งเดิม โดยการผ่าตัดเล็กมาเปลี่ ยนแปลงแนวทางการรักษาแบบเดิ มโดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคหั วใจและหลอดเลือด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ วขึ้น ลดความเจ็บปวด และลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้ อนได้ดีขึ้น
จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทางการแพทย์ ทำให้การศัลยกรรมหรือผ่าตัดเล็ กแบบ minimally invasive ก้าวหน้าไปอีกขั้น แต่ก็มีความซับซ้อนมากขึ้นเช่ นกัน แพทย์จำเป็นต้องรวบรวมและวิ เคราะห์ข้อมูลจากเครื่องมื อการตรวจวินิจฉัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ภาพเอ็กซเรย์ 2 มิติ แบบภาพสด, ภาพจากอัลตราซาวด์แบบ 3 มิติ, การตรวจด้วยอัลตราซาวด์หลอดเลื อด (IVUS) และการวัดการไหลเวียนของเลือด (FFR หรือ iFR) และในขณะเดียวกันก็ต้องประเมิ นและติดตามภาวะของผู้ป่วยอย่ างใกล้ชิด ดังนั้นการเชื่อมต่อของระบบ ซอฟต์แวร์ และเครื่องมือต่างๆ จึงมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น การบูรณาการระบบเหล่านี้จะช่ วยให้แพทย์ศั ลยกรรมสามารถวางแผนการผ่าตัดรั กษาผู้ป่วยได้ด้วยความมั่นใจ
ตัวอย่างนวัตกรรมล่าสุดของฟิลิ ปส์ในกลุ่ม Image-guided therapy ช่วยเพิ่มโอกาสในการรั กษาโรคหลอดเลือดสมอง เพราะทุกๆ 2 วินาที จะพบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุอันดั บสองของการเสียชีวิตทั่วโลก และเป็นสาเหตุหลักของภาวะความพิ การในระยะยาว อย่างไรก็ตาม น้อยกว่า 5% ของประชากรทั่วโลกที่สามารถเข้ าถึงการรักษาได้ทันท่วงที ด้วยการสวนหลอดเลือดแบบไม่ต้ องผ่าตัด (mechanical thrombectomy) หรือการผ่าตัดเล็ก (minimal invasive) ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิ ทธิภาพสูง [2] นอกจากนี้การเพิ่มการเข้าถึ งการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการเพิ่มจำนวนโรงพยาบาลที่ มีความพร้อม และเพิ่มการฝึกอบรมบุ คลากรทางการแพทย์เกี่ยวกับเทคนิ คการรักษาแนวทางใหม่ล่าสุดแบบผ่ าตัดเล็ก ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ฟิลิปส์มุ่ งมั่นจะทำต่อร่วมกับองค์ การโรคหลอดเลือดสมองโลก (World Stroke Organization)
4. ความสำคัญของข้อมูลในการดูแลรั กษาผู้ป่วยวิกฤต
การดูแลผู้ป่วยวิกฤต เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่มักจะไม่ทันการณ์เสมอ บุคลากรทางการแพทย์มักจะเสี ยเวลาในการรวบรวมข้อมูลผู้ป่ วยจากหลากหลายแหล่ง การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศที่เชื่ อมต่อเป็นวงกว้างสำหรับติ ดตามอาการผู้ป่วยจะช่วยแก้ไขปั ญหานี้ได้ ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลจากเครื่ องมือและเทคโนโลยีที่แตกต่างเข้ าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับผู้ ป่วย ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ จากทุกจุดในโรงพยาบาล
ในปี 2025 เราจะได้เห็นความก้าวหน้ าของเครื่องติดตามสัญญาณชีพที่ สามารถเชื่อมต่อกับระบบข้อมู ลสารสนเทศที่รวบรวมข้อมู ลจากเครื่องมือและเทคโนโลยี ทางการแพทย์ที่หลากหลาย เราจะได้เห็นการบูรณาการของเครื่ องมือทางการแพทย์และการเชื่อมต่ อของเทคโนโลยีจากหลากหลายแบรนด์ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยวิ กฤตให้กับผู้ให้บริการสาธารณสุข ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพทางคลี นิก ความแม่นยำของข้อมูล และการเพิ่มเวลาให้กับเจ้าหน้ าที่ในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกั นในอุตสาหกรรมจะช่วยทำให้ ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ สามารถ “สื่อสาร” กันได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้สามารถส่งต่อข้อมูลผู้ ป่วยได้อย่างสะดวกมากขึ้น
นอกจากนี้ การทลายกำแพงของการเชื่อมต่อข้ อมูลจะทำให้เราสามารถพัฒนาอั ลกอริธึมที่ช่วยให้ทีมแพทย์ สามารถประเมินและคาดการณ์ อาการของผู้ป่วยได้ล่วงหน้า และป้องกันความรุนแรงในผู้ป่ วยได้
เราเพิ่งจะเริ่มหาแนวทางในการวิ เคราะห์ข้อมูลขั้นสูงในการดู แลผู้ป่วยวิกฤต เพื่อการตั้งค่าแจ้งเตื อนหากพบความผิดปกติหรือกรณีฉุ กเฉิน ในอนาคต เทคโนโลยี AI จะสามารถให้คำแนะนำเฉพาะบุ คคลได้ ด้วยการเปรียบเทียบข้อมูลทั้ งหมดของผู้ป่วยกับเคสอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันหลายพันเคส เพื่อหาแนวทางรักษาที่ดีที่สุ ดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
5. การดูแลรักษาที่บ้านที่เพิ่มขึ้ น
เทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ไม่ ได้มีเฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่อีกหนึ่งเทรนด์ที่สำคัญไม่ แพ้กันและกำลังได้รั บความสนใจมากขึ้นในปี 2025 คือ การดูแลสุขภาพนอกโรงพยาบาล โปรแกรม “การดูแลรักษาที่บ้าน” (Hospital-at-home) มีความต้ องการเพิ่มขึ้น เพราะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดู แลรักษาเหมือนในโรงพยาบาลจากทุ กที่
เทคโนโลยีการติดตามสัญญาณชีพผู้ ป่วยระยะไกล (Remote patient monitoring) มีบทบาทสำคัญ ด้วยการส่งผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อช่วยประเมินและดูแลผู้ป่ วยจากระยะไกล นอกจากนี้ยังได้รับการพิสูจน์ว่ าเป็นแนวทางที่มีประสิทธิ ภาพในการลดอัตราการกลับเข้ารั กษาตัวในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่ วยโรคเรื้อรังอย่างเช่นผู้ป่ วยโรคหัวใจล้มเหลวอีกด้วย และสามารถติดตามอาการผู้ป่วยหลั งการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่ วยสามารถออกจากโรงพยาบาลได้อย่ างเร็วขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น ส่งผลให้โรงพยาบาลสามารถบริ หารจัดการเตียงในโรงพยาบาลที่มี อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยที่จำเป็ นต้องเข้ารับการรั กษาในโรงพยาบาลได้มากขึ้น
ในปี 2025 เราจะได้เห็นความก้าวหน้าของ AI และการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive analytics) ที่จะมาช่วยติดตามและประเมิ นความเสี่ยงของอาการผู้ป่ วยจากระยะไกล โดยใช้ข้อมูลสัญญาณชีพและข้อมู ลอื่นๆ ในการประเมินร่วมกัน จากรายงาน Future Health Index 2024 พบว่าเทคโนโลยีติดตามสัญญาณชี พผู้ป่วยจากระยะไกล จะเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ มีการนำ AI มาใช้มากที่สุดในอีกสามปีข้ างหน้า และ 41% ของผู้บริหารชั้นนำในวงการเฮลท์ แคร์วางแผนที่จะลงทุ นในเทคโนโลยีนี้ การใช้เทคโนโลยีติดตามสัญญาณชี พระยะไกลไม่เพียงแต่ช่วยป้องกั นภาวะแทรกซ้อนและการกลับเข้ าโรงพยาบาลได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชี วิตที่ดีขึ้นและได้รั บความสบายใจเมื่อได้อยู่ที่บ้าน
6. เทเลเฮลท์ (Telehealth) สามารถเข้าถึงผู้ ป่วยได้ทุกที่
การรักษาพยาบาลผ่านทางออนไลน์ (Virtual Care) เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ช่วงวิ กฤตโควิด-19 จนถึงวันนี้ทำให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงในด้านบริการสาธารณสุขทั่ วโลก เพื่อผลลัพธ์ด้านสาธารณสุขที่ดี กว่าด้วย ทรัพยากรที่อยู่อย่างจำกัด การเข้าถึงระบบสาธารณสุขในพื้ นที่ห่างไกล หรือชุมชนที่ด้อยโอกาสเป็นหนึ่ งในเรื่องที่สำคัญเพื่อการพั ฒนาคุณภาพชีวิต ความเท่าเทียม และการดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง
อย่างการใช้เครื่องติดตามสั ญญาณชีพทางไกลและการใช้เครื่ องอัลตราซาวด์ ณ จุดบริการตรวจ ร่วมกับการปรึกษาผ่านทางวิดี โอออนไลน์แบบเรียลไทม์ เป็นหนึ่งในแนวทางการดูแลรั กษาแบบเทเลเฮลท์ (Telehealth) ที่เข้ามาช่วยให้ผู้คนเข้าถึ งระบบสาธารณสุขได้มากขึ้นไม่ว่ าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม อีกทั้งยังช่วยลดการเดิ นทางไปพบแพทย์ที่อยู่ห่างไกลได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีเทเลเฮลท์ แพทย์ประจำ ณ สถานพยาบาลปฐมภูมิจะสามารถให้ การดูแลรักษาผู้ป่วยได้ถึง 40% ร่วมกับการปรึกษาแพทย์ เฉพาะทางผ่านทางอนไลน์ [3]
ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีการดู แลรักษาทางไกล (Telemedicine) ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ทั่ วโลก ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุ ขในประเทศอินโดนีเซีย เผชิญกับความท้าทายด้านการเข้ าถึงระบบสาธารณสุข เนื่องจากเป็นภูมิประเทศที่เป็ นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ ามาใช้เพื่อเพิ่มการเข้าถึ งและคุณภาพการบริการด้ านสาธารณสุขตามยุทธศาสตร์ด้ านสาธารณสุขของรัฐบาล การดูแลรักษาทางไกล (Telemedicine) เครื่องติดตามสัญญาณชีพทางไกล และ AI เป็นเครื่องมือสำคัญของอินโดนี เซียที่ใช้เพื่อให้บริ การสาธารณสุขแก่ผู้ป่วยแม้ในพื้ นที่ห่างไกล
7. ข้อมูลสารสนเทศและดิจิทัลเฮลท์ ตอบโจทย์พ่อแม่ยุคใหม่
การเลี้ยงดูลูกในยุคปัจจุบันมี การเปลี่ยนแปลงไปในทางดิจิทั ลมากขึ้น ด้วยการใช้สมาร์ทดีไวซ์ และแอปพลิเคชันต่างๆ พ่อแม่ยุคใหม่เข้าถึงข้อมูลที่ ช่วยให้พวกเขาสามารถตัดสินใจเกี่ ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ ดีของลูกได้อย่างมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ที่ไม่เพียงแต่สามารถช่ วยในการติดตามและประเมินด้านสุ ขภาพ แต่ยังสามารถให้ข้อมูลเชิงลึ กและคาดการณ์แนวโน้มพฤติ กรรมของเด็กได้อีกด้วย
ในปี 2025 นี้คาดว่าจะมีคุณพ่อคุณแม่ จำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ที่ใช้แอปพลิเคชันและเชื่อมต่ ออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการดูแลลูกๆ โดยงานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่ า 80% ของพ่อแม่ในสหรัฐอเมริกา และ 79% ของพ่อแม่ในยุโรปสวมใส่หรือใช้ อุปกรณ์สมาร์ทเทคโนโลยี [4,5] ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้ องการที่เพิ่มขึ้นในการนำข้อมู ลจากสมาร์ทเทคโนโลยีเหล่านั้ นมาช่วยในการดูแลด้านความปลอดภั ยและสุขภาพของลูก
อุปกรณ์ภายในบ้านเชื่อมต่อกั นมากขึ้นผ่านระบบสมาร์ทโฮม (Smart Home) ทำให้พ่อแม่สามารถเข้าถึงอุ ปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟีเจอร์วิดีโอและการฟังเพลงผ่ านโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สวมใส่ (wearables) และสมาร์ทดีไวซ์ เช่น ถุงเท้า จุกนม และเครื่องติดตามต่างๆ สามารถให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ ยวกับกิจกรรมหรือสัญญาณชี พของเด็กๆ ได้ รวมถึงการหายใจ อุณหภูมิร่างกาย และอัตราการเต้นของหัวใจด้วย อุปกรณ์ติดตามที่มี AI บางอย่าง ยังสามารถแปลเสียงร้ องของทารก เพื่อให้ผู้ปกครองทราบถึงความต้ องการของลูก เช่น ความหิว หรือความต้องการอื่นๆ ได้รวดเร็วขึ้น
เป็นที่ชัดเจนว่าเครื่องมือดิจิ ทัลกำลังทำให้เกิดการเปลี่ ยนแปลงครั้งสำคัญในการเลี้ยงดู ลูกยุคใหม่ และถึงแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ จะไม่สามารถทดแทนการดูแลลูกด้ วยการลงมือทำจริงๆ แต่เครื่องมือเหล่านี้ก็ สามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และช่วยให้พ่อแม่รู้สึกมั่ นใจในการดูแลลูกมากขึ้น
8. นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
จากเทรนด์เทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่กล่าวถึงข้างต้น ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นเทคโนโลยีที่ศักยภาพอย่ างมากในการเปลี่ ยนแปลงวงการสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิ ภาพ พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน และ AI ยังช่วยในด้านการพัฒนาความยั่ งยืนให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทางการแพทย์อีกด้วย
อุตสาหกรรมด้านเฮลท์แคร์มี การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่ วโลกถึง 4.4% [6] ซึ่งมากกว่าอุตสาหกรรมการบิ นและการขนส่ง แต่เทคโนโลยี AI สามารถช่วยวิเคราะห์ห่วงโซ่อุ ปทานและระบุจุดที่ต้องปรับปรุ งได้ ไม่ว่าจะเป็น การลดขยะและของเสีย หรือการปรับปรุงการจั ดการสถานพยาบาล นอกจากนี้ AI ยังช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการถ่ ายภาพรังสีวินิจฉัย แต่ทำให้ลดการใช้พลังงานต่ อการสแกนแต่ละครั้ง ดังนั้นการใช้ AI เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกทั่วโลก และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็ นเรื่องที่น่าจับตาสำหรับปี 2025 และปีต่อๆ ไป
อย่างไรก็ตามเมื่อมีการใช้งาน AI มากขึ้น อาจนำไปสู่ผลกระทบที่ไม่คาดคิ ดต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากดิจิทัลโซลูชั่นส์ จำเป็นต้องใช้พลังงานและทรั พยากรในกระบวนการและการจัดเก็ บข้อมูล พร้อมกับการใช้น้ำเพื่ อทำความเย็นให้กับดาต้าเซ็ นเตอร์ที่มีความร้อนสูง ซึ่งทั้งหมดนี้มีส่วนในการเพิ่ มการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ ของอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ นอกจากนี้ การใช้ AI ยังเพิ่มการใช้พลังงานถึงปีละ 26% ถึง 36% และการใช้พลังงานของดาต้าเซ็ นเตอร์อาจเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายใน 4 ปี [7] ในขณะที่ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ต้ องตระหนัก ในขณะที่ Generative AI ถูกคาดการณ์ว่าจะสร้างขยะอิเล็ กทรอนิกส์ถึง 2.5 ล้านตันภายในปี 2030 [8] ขณะที่เราขับเคลื่อนวงการเฮลท์ แคร์สู่ยุคดิจิทัล ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี ทางการแพทย์จึงจำเป็นต้องพั ฒนานวัตกรรมที่คำนึงสิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อลดผลกระทบในระยะยาว
9. ความร่วมมือในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน
การปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ หรือประมาณ 71% มาจากห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การขนส่ง ไปจนถึงกระบวนการกำจัดสินค้าหรื อบริการ [9] จริงๆ แล้ว การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ จาก 3 ภาคส่วน คาดว่าจะช่ วยลดผลกระทบได้ถึง 7 เท่าเทียบกับการลดการปล่อยก๊ าซคาร์บอนฯ จากการดำเนินงานขององค์กร องค์กรด้านสาธารณสุขเริ่มตระหนั กถึงความสำคัญในการลดการปล่อยก๊ าซคาร์บอนฯ ในห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อให้สอดคล้องกั บกฎหมายของแต่ละประเทศเท่านั้น แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่ งแวดล้อมและส่งผลต่ อผลประกอบการในระยะยาวอีกด้วย ดังนั้นความร่วมมือกับพันธมิ ตรและคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานจึ งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน
ความโปร่งใสและความยั่งยืนเป็ นปัจจัยสำคัญในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไปจนถึงความร่วมมือกับซั พพลายเออร์ จากรายงาน Future Health Index ปี 2024 พบว่าภายในสามปีข้างหน้า 41% ของผู้บริหารชั้นนำในวงการเฮลท์ แคร์มีแผนที่จะเลือกซั พพลายเออร์ที่ให้ความสำคัญด้ านความยั่งยืน และ 41% ของผู้บริหารชั้นนำในวงการเฮลท์ แคร์ยังมีแผนที่จะใช้กลยุทธ์ การจัดซื้ออย่างยั่งยืน ที่รวมถึงการใช้อุปกรณ์ที่เป็ นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ในขณะที่ ฟิลิปส์ มุ่งมั่นทำงานร่วมกับซั พพลายเออร์ของเรา เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาปฏิบัติ ตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้ อมและนำแนวทางปฏิบัติอย่างยั่ งยืนมาใช้ ซึ่งการจัดหาสินค้าและบริการอย่ างมีความรับผิดชอบนี้จะสร้ างผลกระทบเชิงบวกให้ทั้งห่วงโซ่ อุปทานในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ได้
ยกตัวอย่างเช่น โปรแกรม Refurbishment ที่เน้นการใช้วัสดุสิ้นเปลื องและพลังงานน้อยลง การใช้อุปกรณ์ให้นานขึ้นผ่ านการอัพเกรด และการนำกลับมาใช้ซ้ำ จะช่วยลดการใช้ทรั พยากรและลดขยะได้ โดยมีการคาดการณ์ว่าตลาดเครื่ องมือการแพทย์ที่มีการนำกลั บมาใช้ใหม่ (Refurbished) จะเติบโตจาก 17.05 พันล้านดอลลาร์ในปี 2024 ไปถึง 30.78 พันล้านดอลลาร์ในปี 2029 [10]
10. การสร้างระบบสาธารณสุขด้ วยเทคโนโลยีที่รองรับการเปลี่ ยนแปลงด้านอากาศ
เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนที่ เกิดขึ้นทั่วโลกกำลังก่อให้เกิ ดความท้าทาย โรงพยาบาลและระบบสาธารณสุขจำเป็ นต้องเตรียมพร้อมรับมือกั บสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศส่งผลกระทบต่อสุ ขภาพในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเสียชีวิตและโรคที่เกิ ดจากความร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม มลพิษทางอากาศ ไฟป่า และอื่นๆ [11] สถานพยาบาลหลายแห่งมีจำนวนผู้ป่ วยที่เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ ยนแปลงมากขึ้น แต่ไม่ทุกแห่งที่สามารถรับมือกั บการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยได้ และไม่เพียงการรับมือกับการดู แลรักษาผู้ป่วยเท่านั้น แต่ระบบสาธารณสุ ขและสถานพยาบาลยังต้องเตรียมรั บมือด้านการดำเนิ นงานและสถานประกอบการด้วย
ในปี 2025 มีการถกในประเด็นนี้มากขึ้ นในระดับโลก โดยคาดว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ วงการสาธารณสุขพร้อมรับมือกั บความท้าทายที่เพิ่มขึ้น ทางหนึ่งคือการพัฒนาโครงสร้างพื้ นฐานที่มีความยืดหยุ่ นและสามารถรองรับการให้บริ การได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิ ทธิภาพ แม้จะเผชิญกับภัยพิบัติทางอากาศ รวมถึงการใช้พลังงานทดแทน และกา รนำแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยื น มาใช้
นอกจากนี้การฝึกอบรมและเพิ่มทั กษะเกี่ยวกับการจัดการโรคที่เกี่ ยวข้องการความร้อน หรือโรคที่มียุงเป็นพาหะ ยังช่วยเตรียมความพร้อมให้กับบุ คลากรทางการแพทย์และผู้ให้บริ การด้านสาธารณสุขในการดูแลรั กษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น นอกจากนี้ ระบบเตือนภัยล่วงหน้าก็สามารถช่ วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และเสริมสร้างสุขภาพเชิงป้องกั นภายในชุมชน เพื่อให้สามารถจัดการกับโรคที่ เกี่ยวข้องกับการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับท้ องถิ่นได้
การเตรียมความพร้อมและการดำเนิ นการตามแนวทางข้างต้น จะช่วยให้ระบบสาธารณสุขสามารถรั บมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น และมั่นใจในสุขภาพที่ดีของทุ กคนในอนาคตได้[i]