นายอรรถพล พิบูลธนพัฒนา ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบคนกลางประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. โดยสายตรวจสอบคนกลางประกันภัย ได้จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้ และแนวทางกำหนดจำนวนเงิ นเอาประกันภัยเบื้องต้นสำหรั บการทำประกันภัยความเสี่ยงภั ยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลวิ ธีการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภั ย ให้เหมาะสม และเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้ องกับกระบวนการเสนอขายกรมธรรม์ ประกันภัยตรวจสอบข้อมูลที่สำคั ญก่อนตกลงทำสัญญาประกันภัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมทุกมิติ ของการประกันภัยทรัพย์สิน โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความเข้ าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกั บกระบวนการประเมินมูลค่าทรัพย์ สิน การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภั ยอย่างเหมาะสม รวมถึงเงื่อนไขที่ควรรู้ ในกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่ มความมั่นใจในการทำประกันภัยทรั พย์สิน
สำหรับการจัดทำคู่มือเผยแพร่ ความรู้และแนวทางกำหนดจำนวนเงิ นเอาประกันภัยเบื้องต้นสำหรั บการทำประกันภัยความเสี่ยงภั ยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัยฉบับนี้ เน้นถึงความสำคั ญของการกำหนดจำนวนเงินเอาประกั นภัยอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคั ญในการลดความเสี่ยงด้านการเงิ นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ คาดฝัน เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือภัยธรรมชาติ การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภั ยต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่แท้ จริง หรือที่เรียกว่าการประกันภัยต่ำ กว่ามูลค่า (Under Insurance) อาจทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรั บผิดชอบค่าเสียหายในส่วนที่เกิ นเองในทางกลับกัน หากกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภั ยเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สิน (Over Insurance) จะส่งผลให้เสียค่าเบี้ยประกันภั ยสูงเกินความจำเป็น นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกั บประเภทของทรัพย์สินที่ สามารถเอาประกันภัยได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้านหรืออาคารที่อยู่อาศัย รวมถึงทรัพย์สินภายใน เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน รวมถึงทรัพย์สินเพิ่มเติม เช่น แผงโซลาร์เซลล์ โดยสามารถแจ้งขอความคุ้มครองเพิ่ มเติมจากบริษัทประกันภัยได้ เพื่อให้เจ้าของบ้านและที่อยู่ อาศัยทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว หรือคอนโดมิเนียม รวมถึงผู้ที่กำลังวางแผนทำประกั นอัคคีภัยครั้งแรก หรือผู้ที่ต้องการตรวจสอบความคุ้ มครองในกรมธรรม์ปัจจุบัน มั่นใจว่าทรัพย์สินของตนได้รั บการคุ้มครองอย่างเหมาะสม และยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้ องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกั บการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในรู ปแบบต่าง ๆ เพื่อกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภั ย ทั้งมูลค่าที่เป็นของใหม่และมู ลค่าที่แท้จริงหลังหักค่าเสื่ อมราคาอีกด้วย
ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบคนกลางประกันภัย กล่าวด้วยว่า คู่มือฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่ อนำเสนอหลักการสำคัญ ในการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เพื่อช่ วยประชาชนในการกำหนดจำนวนเงิ นเอาประกันภัยได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น หากบ้านมีขนาด 100 ตารางเมตร การเลือกคุ้มครองแบบมูลค่าที่ เป็นของใหม่จะช่วยให้ได้รั บความคุ้มครองครอบคลุ มตามราคาสร้างบ้านใหม่ในปัจจุบั น ขณะที่การเลือกแบบมูลค่าที่แท้ จริงหลังหักค่าเสื่อมราคาจะช่ วยลดค่าเบี้ยประกันภัยแต่ยั งคงครอบคลุมความเสียหายตามมูลค่ าที่แท้จริง เพื่อความสะดวกของประชาชน สำนักงาน คปภ. ยังจัดทำโปรแกรมช่ วยคำนวณออนไลน์ที่สามารถเข้าถึ งได้ฟรีผ่านเว็บไซต์ https://smart.oic.or.th/ EService/Menu10 ซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยให้ ประชาชนสามารถประเมินมูลค่าทรั พย์สินในเบื้องต้น ใช้เป็ นแนวทางในการกำหนดจำนวนเงิ นเอาประกันภัยได้อย่างเหมาะสม
“คู่มือเผยแพร่ความรู้ และแนวทางกำหนดจำนวนเงิ นเอาประกันภัยเบื้องต้นสำหรั บการทำประกันภัยความเสี่ยงภั ยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัยฉบับนี้ เป็นอีกหนึ่งความตั้งใจของสำนั กงาน คปภ. ที่ต้องการสนับสนุนให้ประชาชนมี ความมั่นคงด้านการเงิน และเพิ่มความมั่นใจในการปกป้ องทรัพย์สินอันมีค่ าของตนเองโดยนำระบบการประกันภั ยเข้ามาบริหารจัดการความเสี่ ยงที่อาจเกิดขึ้น และขอแนะนำให้ประชาชนตรวจสอบข้ อมูลในกรมธรรม์อย่างละเอียด ทั้งในส่วนของทรัพย์สินที่ได้รั บความคุ้มครอง เงื่อนไขการคุ้มครอง และข้อยกเว้นต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหาในการเรียกร้ องสินไหมทดแทนในอนาคต หากมีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน เช่น การต่อเติมบ้าน หรือการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ งานทรัพย์สิน ควรแจ้งให้บริษัทประกันภั ยทราบเพื่อปรับปรุงข้อมู ลในกรมธรรม์ให้สอดคล้องกับมูลค่ าปัจจุบัน” ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบคนกลางประกันภัย กล่าวในตอนท้าย