บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)หรือ ซีพีเอฟ มุ่งมั่นบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ตลอดกระบวนการผลิตเกิดประสิทธิ ภาพสูงสุด และคำนึงถึงความรับผิดชอบ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ เพื่อช่วยลดปริมาณการดึงน้ำ จากธรรมชาติ เดินหน้าเตรียมแผนรับมื อสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ จากผลกระทบเอลนีโญ ชูหลัก 3Rs ลดการดึงน้ำมาใช้(Reduce)นำน้ำ กลับมาใช้ใหม่ (Recycle)และนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse)เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ น้ำในฟาร์มและโรงงานให้ดียิ่งขึ้ น
นายสิริพงศ์ อรุณรัตนา ประธานผู้บริหารฝ่ายปฎิบัติ การธุรกิจสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทฯส่งเสริมให้ทุกธุรกิจมี ความตระหนักและรับผิดชอบต่ อการนำทรัพยากรน้ำมาใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด ปฏิบัติตามมาตรการจัดการทรั พยากรน้ำ สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาอย่ างยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs)ในการบริหารจัดการน้ำอย่ างยั่งยืน โดยนำหลัก 3Rsมาใช้ ทั้งลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และนำน้ำกลับมาใช้ซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เตรี ยมแผนรับมื อผลกระทบจากสภาวะเอลนีโญต่ อประเทศไทย ที่อาจส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนลดลง มีโอกาสเกิดภัยแล้งในบางพื้นที่ และมีความเสี่ยงต่อพืชเศรษฐกิ จที่มีความต้องการน้ำสูง
สถานประกอบการของซีพีเอฟทั่ วประเทศ ทั้งธุรกิจสุกร ไก่เนื้อ เป็ดเนื้อ และไก่ไข่ ได้สำรวจพื้นที่ที่มีความเสี่ ยงต่อการขาดแคลนน้ำ จากผลกระทบเอลนีโญ รวมทั้งจัดทำแผนและนำมาตรการต่ างๆมาใช้ อาทิ มาตรการปรับปรุงประสิทธิ ภาพการใช้น้ำในฟาร์ มและโรงงานให้ดียิ่งขึ้น ภายใต้หลัก 3Rs มาตรการลดการใช้น้ำในการเตรี ยมโรงเรือน ปรับเวลาการราดน้ำของชุดทำอุ ณหภูมิโรงเรือนระบบอีแว็ป (Evaporator)ให้เหมาะสมกั บสภาพอากาศ ปรับอัตราการไหลของน้ำที่ใช้ ให้เหมาะสม ทำทางน้ำเพื่อรวบรวมน้ำธรรมชาติ ให้ไปอยู่ที่บ่อผิวดินเพื่อกั กเก็บน้ำ มาตรการขุดและสร้างบ่อผิวดิ นเพิ่มเติม เจาะแหล่งน้ำบาดาล รณรงค์ลดการใช้น้ำที่สิ้นเปลื องด้วยการเพิ่มความถี่ ในการสำรวจจุดรั่วไหล ใช้น้ำจากระบบบำบัดรดน้ำต้นไม้ ในช่วงฤดูแล้ง ฯลฯ
รวมไปถึงการสำรองน้ำ(Reserve) โดยนำโมเดลธนาคารน้ำใต้ดินมาปรั บใช้ ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการธนาคารน้ำใต้ดิ นที่หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ และทดแทนการซื้อน้ำจากภายนอกได้ กว่า 50,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นผลประหยัด 1 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเกษตรกร อาทิ ผู้เลี้ยงสุกร ปลูกพืช ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่ าวในการซื้อน้ำช่วงแล้ง
ซีพีเอฟ มุ่งมั่นลดการดึงน้ำมาใช้ต่ อหน่วยการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง และได้กำหนดให้การบริหารจั ดการน้ำ เป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญของเป้ าหมายความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งผลการดำเนินงานในปี 2565 กิจการประเทศไทยของซีพีเอฟ สามารถลดปริมาณการดึงน้ำมาใช้ต่ อหน่วยการผลิตลงได้ถึง 53 % เมื่อเทียบกับปี 2558 ขณะเดียวกัน กิจการในไทยและต่างประเทศ มีปริมาณน้ำที่นำกลับมาใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ คิดเป็น 24 % (กิจการประเทศไทยและต่างประเทศ) ของปริมาณการดึงน้ำมาใช้ทั้งหมด พร้อมกันนี้ ซีพีเอฟยังได้สนับสนุนคู่ค้าธุ รกิจมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ กำหนดในนโยบายด้านการจัดหาอย่ างยั่งยืน ลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิ จของซีพีเอฟและบริษัทคู่ค้าธุ รกิจเองด้วย