บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าสนับสนุ นกรมประมงในการขับเคลื่อนกำจั ดปลาหมอคางดำอย่างเต็มกำลัง ผนึกพลังกับสำนักงานประมงจังหวั ดใน 4 พื้นที่ ประมงสมุทรสงคราม ประมงสุราษฎร์ธานี ประมงนครศรีธรรมราช และประมงชุมพร จัดกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” จับปลาออกจากแม่น้ำลำคลอง และนำไปเพิ่มมูลค่าทำปลาทำน้ำ หมักชีวภาพและอาหารเมนูต่างๆ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศในแหล่งน้ำ อย่างเป็นรูปธรรม
นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดสายงานรัฐกิ จและเอกชนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทร่วมสนับสนุ นกรมประมงโดยดำเนิน 5 โครงการเชิงรุกบู รณาการหลายภาคส่วนเพื่อกำจั ดและควบคุมปริมาณปลาชนิดนี้อย่ างจริงจังเพื่อลดผลกระทบต่ อระบบนิเวศ ร่วมมือกับประมงจังหวัดทั่ วประเทศจั บปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำอย่ างต่อเนื่อง บริษัทสนับสนุนเครื่องมือจับสั ตว์น้ำ อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งกำลังคนในการช่วยกำจั ดปลาออกจากแหล่งน้ำ ล่าสุด ซีพีเอฟลงพื้นที่ร่วมสนับสนุนกิ จกรรม “ลงแขกลงคลอง” ปฏิบัติการจับปลาหมอคางดำใน 4 จังหวัด สมุทรสงคราม สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และชุมพร
ประมงสมุทรสงคราม จัดกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 นายบัณฑิต กุลละวณิชย์ ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม พร้อมกับหน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชนและชาวประมง ร่วมกันจับปลาที่คลองหมื่นหาญ ซึ่งเป็นลำคลองยาวประมาณ 3.5 กิโลเมตร ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง โดยซีพีเอฟร่วมสนับสนุนเครื่ องมือจับปลา พร้อมทั้งอาหารและน้ำดื่ม
นายบัณฑิต กล่าวว่า การจับปลาครั้งนี้ได้รับการผ่ อนผันจากอธิบดีกรมประมงให้ใช้ เครื่องมือประมงจับสัตว์ และปรับเปลี่ยนวิธีการจับปลาให้ เหมาะสม ช่วยให้เราจั บปลาออกหมอคางดำจากแหล่งน้ำได้ มากขึ้น โดยปลาที่จับได้รวม 2,412 กิโลกรัมส่วนใหญ่เป็ นปลาหมอคางดำ สำหรับปลาที่จับได้กรมประมงส่ งมอบเข้าโครงการผลิตน้ำหมักชี วภาพเพื่อเกษตรกรชาววนยาง 2,177 กิโลกรัม เรือนจำกลางสมุทรสงคราม 200 กิโลกรัม และแบ่งปันให้ประชาชนที่เข้าร่ วมกิจกรรมนำกลับไปบริโภค
จังหวัดชุมพร นายบุญญวัฒน์ ทองหอม ประมงอำเภอปะทิว พร้อมกับนายอำเภอปะทิว สมาคมประมงปะทิวคลองบางสม กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรสะพลี หน่วยงานราชการในพื้นที่ ผู้นำชุมชนและชาวปะทิวลงพื้นที่ ร่วมกิจกรรม “ลงแขกลงห้วย” ปฏิบัติการจับปลาที่ลำห้วยบ้ านลุงสาร ตำบลบางสน อำเภอปะทิว โดยซีพีเอฟได้ร่วมสนับสนุนเครื่ องมือจับปลาสำหรับการจัดกิ จกรรมในครั้งนี้ด้วย สามารถจับปลาได้ 115 กิโลกรัมซึ่งแบ่งปันให้ชาวบ้ านที่มาร่วมกิจกรรมนำกลับไปปรุ งอาหารที่บ้าน
ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธวัชชัย อุบลไพศาล ประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกับผู้แทนจากหน่ วยงานราชการในพื้นที่ และผู้นำชุมชนร่วมกันจับปลาที่ ลำคลอง ในตำบลตะกรบ อำเภอไชยา โดยซีพีเอฟสนับสนุนแหจับปลา อาหารกลางวัน อาหารว่างและน้ำดื่มให้แก่ผู้ร่ วมงานกว่า 70 คนและร่วมทอดแหจับปลา กิจกรรมในครั้งนี้สามารถจั บปลาได้ 192 กิโลกรัมและมี แพปลามารวบรวมปลาที่จับได้ นำไปขายให้สำนักงานพัฒนาที่ดิ นสำหรับผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่ อชาวสวนยางต่อไป
นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังได้ร่วมสนับสนุนกิ จกรรม “ลงแขกลงคลอง” จัดโดยสำนักงานประมงนครศรี ธรรมราชร่วมบูรณาการหน่วยงานสั งกัดกรมประมง คณะทำงานแก้ไขปัญหาการแพร่ ระบาดปลาหมอคางดำ กรมราชทัณฑ์ การยางแห่งประเทศไทย เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ 100 คน ร่วมจับปลาบริเวณคู คลองสาขา บ้านบางตะลุมพอ ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง เพื่อกำจัดปลาชนิดนี้ ออกจากระบบนิเวศ โดยซีพีเอฟร่วมสนับสนุนเครื่ องมือประมง อวนเอ็น รวมทั้งอาหารกลางวันและน้ำดื่ มให้กับผู้ร่วมกิจกรรม ปลาที่จับขึ้นมาได้ 1,450 กิโลกรัม นำไปขายจุดรับซื้อในโครงการผลิ ตน้ำหมักชีวภาพ 1,100 กิโลกรัม และแบ่งปันให้ชุมชนนำไปใช้ ประโยชน์ 350 กิโลกรัม
นายอดิศร์กล่าวต่อว่า ซีพีเอฟได้ดำเนินการขับเคลื่อน 5 โครงการเชิงรุกของซีพีเอฟเพื่ อร่วมกำจั ดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำฟื้ นฟูระบบนิเวศ ประกอบด้วย โครงการร่วมกับกรมประมงรับซื้ อปลาเพื่อทำปลาป่น 2,000,000 กิโลกรัม ที่ปัจจุบันร่วมกับโรงงานปลาป่ นในสมุทรสาครจัดซื้อปลาไปแล้ วกว่า 605,860 กิโลกรัมและกำลังขยายพื้นที่จั ดซื้อปลาไปจังหวัดอื่น โครงการปล่อยปลานักล่า 200,000 ตัว ซึ่งขณะนี้ส่งมอบปลากะพงขาวแล้ว 54,000 ตัว และยังมอบอย่างต่อเนื่อง โครงการสนับสนุนกิจกรรมจับปลาทุ กพื้นที่ ซึ่งซีพีเอฟยังประสานงานเพื่ อประเมินผลการดำเนินกิ จกรรมภายใต้ 3 โครงการ นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังดำเนิ นโครงการระยะกลางและระยะยาวประก อบด้วย โครงการร่วมมือกับมหาวิทยาลั ยนำปลาไปใช้ประโยชน์ เช่น แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และโครงการสนับสนุนผู้เชี่ ยวชาญและมหาวิทยาลัยในการศึ กษาวิจัยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี เพื่อตัดวงจรและควบคุ มจำนวนปลาในระยะยาว./