น่านเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 14.00 น. ที่ ลานหน้าศาลากลางจังหวัดน่าน หลังเก่า ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นายวรกิตติ  ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน   เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมเวทีรับฟังความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าและพื้นที่โดยรอบเพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนโดยมีนายสุขสันต์สันต์ เพ็งดิษฐ์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 กล่าวรายงานโครงการ ซึ่งในการเปิดเสวนาในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงแรก

การเสวนา เรื่อง การบริหารจัดการอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก “ศูนย์การเรียนรู้ที่มีชีวิตด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอด องค์ความรู้และบรรยากาศของเมืองเก่าน่าน” โดย1. นายวรกิตติ ศรีทิพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน 2. ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ อพท. รักษาการแทนผู้อำนวยการ อพท.3. นายนรินทร์ เหล่าอารยะ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดน่าน4. ดร.อดิศร เรือลม ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง แผนกลยุทธ์ โลจีสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว จากกรมโยธาธิการและผังเมือง5. นายสุริยน ประภาสะวัต อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ รองเลขานุการอัยการสูงสุด

ช่วงที่ 2 ในการเสวนาเรื่อง “มุมมองของคนรุ่นใหม่ในการใช้ประโยชน์เชิงสร้างสรรค์หอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก” โดย1. นายจาตุรนต์ โลหะโชติ เจ้าของ Cafe Amazon บ้านคุณหลวง2. อาจารย์ยุทธภูมิ สุประการ ผู้อำนวยการหออัตลักษ์น่าน3. นายสิทธิธัช ธิติกุลเกษมศักดิ์ อาจารย์ประจำโรงเรียนน่านนคร (ประธานกลุ่มฮักศิลป์น่าน)4. นายธนากร แสนคำสอ ที่ปรึกษากองทุนพัฒนาศักยภาพเครือข่ายเยาวชนจังหวัดน่าน5. พระมหาธนพล ธมฺมพโล เจ้าอาวาสวัดแสงดาว ประธานกลุ่มพุทธศิลป์น่าน นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน , หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดน่าน , ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , ผู้แทนภาคประชาชน , ผู้แทนองค์กรเอกชน ให้การต้อนรับ และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับโครงการในครั้งนี้

ทั้งนี้ เมืองน่าน เป็นเมืองที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมายาวน่าน เชื่อกันว่าเป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองหลวงพระบางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศจาก UNESCO ให้เป็นเมืองมรดกโลกด้านวัฒนธรรม แต่เมืองน่านก็มิได้มีความวิจิตรอลังกาของสถาปัตยกรรมที่ด้อยไปกว่าเมืองหลวงพระบางแต่อย่างใด

จากพลังความร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวจังหวัดน่าน ที่จะดำรงรักษาพื้นที่ประวัติศาสตร์บริเวณ “ใจ๋เมืองน่าน” และ “เวียงพระธาตุแช่แห้ง” นำมาซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2548 ประกาศให้พื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเมืองเก่าลำดับที่ 2 ต่อจากกรุงรัตนโกสินทร์ พร้อมให้ความเห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าน่าน ตามผลการศึกษาของสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประสิทธิ์ สองเมืองแก่น จ.น่าน/รายงาน