อลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
“อลงกรณ์”ลุยตรวจอ่างเก็บน้ำตะวันออก ประสานทุกหน่วยงานรณรงค์ประหยัดน้ำ พร้อมสั่งการฝนหลวงเติมน้ำในอ่าง เร่งด่วนรับมือภัยแล้ง ยันมีน้ำกินน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ แน่นอน
17ม.ค.63/นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ พร้อมด้วยดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภาคตะวันออก ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และจันทบุรี พร้อมพบปะเกษตรกรผู้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ โดยมีนายสุริยพล นุชอนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 9 และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ ณ สำนักงานชลประทานที่ 9 อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ทั้งนี้ อลงกรณ์ กล่าวว่าจากการเดินทางมาครั้งนี้เพื่อประชุมหารือร่วมกับ เจ้าหน้าที่ กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า การบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่ ค่อนข้างเป็นไปตามเป้าหมาย โดยภาพรวมปริมาณที่ใช้การได้ มีเพียงร้อยละ 50 จากความจุอ่างจากเดิม ของปีที่ผ่านมามากถึงร้อยละ 89 จึงจำเป็นปรับแผนบริหารการจัดการน้ำอย่างระมัดระวังโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงจาก เดิม เดือน พฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน เมษายนและเดือน พฤษภาคมถึงเดือน กรกฎาคมเพื่อลดความเสี่ยงจากฝนทิ้งช่วง ตามที่กรมมอุตุนิยมวิทยาคาดการว่าปีนี้ ฝนจะตกน้อยลง จึงต้องมีการปรับแผนการบริหารน้ำแบบ วันต่อวัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา
นอกจากนั้น ยังสั่งการให้ ทางชลประทานในพื้นที่ ร่วมรณรงค์ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมโดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ในพื้นที่จากเดิมที่วางไว้ที่ร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 15 เพื่อ ให้มีการประหยัดน้ำมากขึ้น เพราะลดการใช้น้ำพร้อมทั้งเตรียมแผนสำรองเรื่องการผันน้ำ จากอ่างเป็นน้ำใกล้เคียง เข้าไปเสริมในอ่างเก็นน้ำบางพระ หากเกิดกรณีฉุกเฉินด้วยเนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆทั้ง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และพื้นที่ใกล้เคียงไม่สามารถผันน้ำไปช่วยได้เนื่องจาก มีความจำเป็นต้องใช้ ในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกันจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทางกระทรวงเกษตร ฯได้สั่งการให้มีการบูรณาการณ์ทำงานร่วมกันทุกหน่วยงาน โดยล่าสุดสั่งการให้ทางกรมการฝนหลวงและกองบินเกษตรเร่งปฎิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมดทันทีหากภาวะอากาศพร้อม ในการปฎิบัติการฝนหลวงซึ่งคาดว่า สถานการการขาดแคลนน่าจะไม่มีปัญหาแน่นอน
ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาระยะยาวได้สั่งการให้มีการเตรียมแผนรองรับกับการบริหารการจัดการน้ำในระยะยาว เพื่อรองรับกับการขยายตัวในโครงการ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ในอนาคตเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้วย
“ ตอนนี้ ผลการดำเนินการบริหารจัดการน้ำน่าพอใจแต่เราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้สั่งให้เตรียมพร้อมในการบริหารจัดการน้ำและตรวจสอบแบบวันต่อวัน เพื่อรับมือกับสถานการภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะปีนี้ปริมาณน้ำค่อนข้างน้อยกว่าทุกปี ซึ่งตอนนี้เราเร่งให้ฝนหลวงปฎิบัติการเติมน้ำในอ่างแล้วเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา และส่วนระยะยาวเราต้องมาวางแผนกันเพราะภาคตะวันออกจะมีการขยายตัวเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษเราต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนด้วย” นายองลงกรณ์กล่าว
ขณะที่นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกว่า ปัจจุบัน(17 ม.ค. 63) สถานการณ์น้ำภาพรวมของภาคตะวันออก อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 7 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมประมาณ 671 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 55 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมประมาณ 542 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ ส่วนปริมาณน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 30 – 50 ของลำน้ำ
ในส่วนของมาตรการรองรับวิกฤตขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ทุกภาคส่วนได้จับมือกันดำเนินการตามมาตรการต่างๆ อาทิ บริษัท EAST WATER ได้ดำเนินการเชื่อมท่อจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปลงอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และจากอ่างเก็บน้ำประแสร์ไปลงอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อลดการสูญเสียน้ำ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำเพื่อการเกษตรบริเวณท้ายอ่างฯประแสร์แต่อย่างใด เนื่องจากมีการจัดสรรน้ำไว้อย่างเพียงพอตลอดแล้งนี้แล้ว
ส่วนด้านการประปาส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองหลวง เพื่อมาช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรีได้กว่า 10 ล้าน ลบ.ม.
นอกจากนี้ ยังได้จัดหาแหล่งน้ำจากบ่อดินเอกชนเพิ่มเติม สามารถเพิ่มปริมาณน้ำได้กว่า 20 ล้าน ลบ.ม. ด้านสถาบันน้ำและพลังงานเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือจากการนิคมอุตสาหกรรมลดการใช้น้ำลงร้อยละ 10 ส่วนการแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วนแล้ว กรมชลประทาน ยังได้ดำเนินโครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรีไปยังแหล่งกักเก็บน้ำจังหวัดระยอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ด้วยการผันน้ำจากคลองวังโตนด จ.จันทบุรี ไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง ผ่านท่อส่งน้ำระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำจำนวน 9 เครื่อง อัตราการสูบ 5 ลบ.ม.ต่อวินาที ดำเนินการสูบผันน้ำเฉพาะช่วงฤดูฝน โดยมีระยะเวลาการสูบน้ำ 5 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำประมาณ 70 ล้าน ลบ.ม.
ทั้งนี้ ในส่วนของกรมชลประทาน ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำจากทุกอ่างเก็บน้ำ โดยขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย และให้มีน้ำเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนปี 2564
จรัญ ชุ่มเงิน รายงาน