สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ ประกาศราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ มอยู่ที่ 3.40 บาทต่อฟอง เป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนของผู้ เลี้ยงไก่ไข่ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนราคาวัตถุดิ บอาหารสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยู เครน ราคาไข่ไก่ในวันนี้เป็นราคาที่ แค่พอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงได้ หายใจหายคอสะดวกขึ้นจากที่ต้ องแบกรับภาระขาดทุนมานาน หลายคนอาจไม่รู้ว่า ราคาขายจริงหล่นลงไปต่ำกว่ าราคาประกาศด้วยซ้ำ การปรับราคามาอยู่ในระดับนี้ จึงไม่ใช่การสร้างผลกำไรให้กั บเกษตรกร เป็นเพียงการช่วยต่อลมหายใจ ให้พอต่อทุนให้อาชีพเลี้ยงไก่ ไข่เดินหน้าต่อไปได้เท่านั้น
เรื่องนี้ อธิบดีกรมการค้าภายใน วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม ให้ความเห็นว่า ราคาไข่ไก่หน้าฟาร์ม ที่เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้ าที่ฟองละ 10 สตางค์ ถือว่าไม่ได้ขยับขึ้นมากนัก และต้อง “ให้ความเป็นธรรมกับผู้เลี้ยง” ด้วย เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงขณะนี้ ปรับขึ้นสูงมาก ประกอบกับเวลานี้เป็นช่วงฤดูร้ อน และสัปดาห์ที่ผ่ านมาอากาศแปรปรวน ทำให้แม่ไก่ออกไข่ได้น้อย และไข่ที่ได้มีขนาดเล็กลง จึงยิ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้ นไปอีก
จากข้อมูลพบว่าสภาพอากาศร้อนแล้ งเช่นนี้ ส่งผลให้แม่ไก่เครียดและให้ ผลผลิตลดลง และช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เป็นช่วงที่แม่ไก่ถู กปลดกรงตามรอบเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลผลิตของเกษตรกรปรั บลดลงจากช่วงปกติแล้ว 10-20% ถึงแม้ว่าเดือนมี นาคมจะปลดกรงลดลง แต่มีการปลดล่วงหน้าไปแล้ว ทำให้ต้องใช้เวลาในการเลี้ยงแม่ พันธุ์ชุดใหม่ โดยปริมาณไข่ไก่ที่ออกสู่ ตลาดในปัจจุบันประมาณ 40 ล้านฟองต่อวัน
นายกสมาคมผู้เลี้ยงไข่ไก่ มาโนช ชูทับทิม บอกว่า ราคาไข่ไก่ที่ปรับตัวขึ้น มาจากปัจจัยราคาอาหารสัตว์ที่ ปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพด และข้าวสาลี ที่เข้าสู่ ภาวะขาดแคลนจากสถานการณ์การสู้ รบระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่ง 2 ประเทศนี้เป็นผู้ส่งออกข้าวสาลี มากกว่า 30% ของปริมาณผลผลิตทั้งโลก ภาวะนี้ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบทั่ วโลก วันนี้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละกว่า 13 บาท กากถั่วเหลืองจากเมล็ดนำเข้ าราคาพุ่งไปกิโลกรัมละ 23 บาท จากราคา 10 กว่าบาท
ขณะเดียวกัน ต้นทุนค่าพลังงานก็ส่งผลกระทบกั บการขนส่งไข่ไก่ที่ต้องมีต้นทุ นสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตไข่ไก่ ปรับขึ้นไปอยู่ที่ 3.10-3.24 บาทต่อฟอง เกษตรกรจึงจำเป็นต้องปรั บราคาขายไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม และหากสถานการณ์สงครามยังคงยื ดเยื้อต่อไป ก็มีความเป็นไปได้ที่ต้นทุ นการเลี้ยงจะยิ่งสูงขึ้น
แม้ต้นทุนการเลี้ยงจะสูงขึ้ นขนาดนี้ “หากแต่การขายไข่ไก่ ของเกษตรกรไม่ได้เป็นอิสระตามต้ นทุนที่ปรับขึ้น เพราะหน่วยงานภาครัฐขอความร่ วมมือให้เกษตรกรตรึ งราคาขายเอาไว้มาโดยตลอด”
เมื่อพิจารณาจากต้นทุนการผลิ ตของเกษตรกรแล้ว จะเห็นได้ว่าราคาไข่ไก่ที่ เกษตรกรขายได้จริงนั้น เท่ากับว่าคนเลี้ยงมีกำไรบางมาก ยิ่งถ้าฟาร์มไหนมีปัญหาเรื่ องสภาพอากาศแปรปรวนที่เข้าซ้ำ เติมด้วยแล้ว ต้นทุนกับราคาขายก็ชนกันพอดี แทบไม่มีกำไรหรือบางฟาร์มถึงกั บขาดทุน นี่ยังไม่นับภาระค่าใช้จ่ายค่ าน้ำค่าไฟที่จะเพิ่มขึ้นแน่นอน จากการต้องเปิดระบบปรับอากาศ (EVAP) เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในโรงเรื อนให้กับแม่ไก่ และยังมีค่าน้ำใช้ที่ปกติในทุ กฤดูแล้งเกษตรกรจำเป็นต้องซื้ อน้ำใช้ เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่รออยู่ข้ างหน้า นี่คือความจริงที่เกษตรกรต้ องเผชิญ
สำคัญกว่านั้นคือ ราคาไข่ที่เพิ่มนี้ เพียงแค่พอช่วยให้เกษตรกรพอได้ หายใจคล่องขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้การทำอาชีพเป็ นไปอย่างลุ่มๆดอนๆ โดยผู้เลี้ยงต้องแบกรั บภาระมากมายเอาไว้ ไข่ที่ขายออกจากหน้าฟาร์ มเกษตรกรเป็นไข่คละทุกขนาดที่ ขายได้ในราคาเดียวคือ 3.40 บาทต่อฟอง ซึ่งกว่าไข่ไก่จะไปถึงมือผู้บริ โภค ต้องผ่านกลไกตลาด กระบวนการ และคนกลางหลายขั้นตอน
เนื่องจากซัพพลายเชนของวงการค้ าไข่นั้นยาวมาก มีผู้เกี่ยวข้องมากมาย เริ่มตั้งแต่เกษตรกรผู้เลี้ ยงไก่ไข่ ผู้รวบรวมไข่ (ล้งไข่) ยี่ปั่ว ซาปั่ว ผู้ค้าปลีก จนถึงร้ านขายของชำและตลาดสดในหมู่บ้าน ซึ่งแต่ละขั้นมีค่าใช้จ่ ายในการดำเนินการ แต่ทั้งหมดนี้ประโยชน์ไม่ได้ ตกที่เกษตรกรผู้เลี้ยง เพราะเกษตรกรขายไข่หน้าฟาร์ มแบบขายขาด ส่วนต่างราคาหลังจากนี้ก็ขึ้ นอยู่กับค่าดำเนินการในแต่ละขั้ นตอน
ส่วนราคาไข่ที่ประกาศฯ ปรับขึ้น 10 สตางค์ ซึ่งผู้บริโภคบางคนมองว่าไข่ แพงนั้น ถ้าลงลึกในรายละเอียดก็จะเห็ นความเป็นจริงว่าไม่ได้เป็ นแบบนั้น ยกตัวอย่างการบริโภคไข่ไก่ ในครอบครัว ที่ในบ้านมีพ่อ-แม่-ลูก รวม 3 คน หากกินไข่คนละ 1 ฟองต่อวัน เป็นเวลาหนึ่งเดือน เท่ากับครอบครัวนี้จะกินไข่ไก่ 90 ฟอง เฉลี่ยแล้วมีค่าใช้จ่ายเพิ่ มจากราคาไข่ที่ปรับขึ้น เพียงเดือนละ 9 บาทต่อครอบครัว ซึ่งเงินเพียงแค่นี้ไม่ทำให้ผู้ บริโภคต้องเดือดร้อน เรียกว่าจ่ายเงินกับเรื่องอื่ นยังมากกว่านี้ด้วยซ้ำ
หากทุกคนทำความเข้าใจว่า ไข่ไก่เป็นสินค้า Commodities ที่ราคาแปรผันขึ้นอยู่กับอุ ปสงค์-อุปทาน โดยมีความต้องการบริโภค กับปริมาณผลผลิต เป็นตัวกำหนดราคา ดังนั้นราคาไข่ไก่ย่อมมีขึ้นมี ลงตามกลไกตลาดในช่วงนั้นๆ และราคาที่ปรับขึ้นก็ไม่ได้ ทำให้เกษตรกรรวยขึ้น แค่ช่วยต่ออาชีพไม่ให้ล้ มหายไปเท่านั้น
วันนี้เกษตรกรขอเพียงความเข้ าใจจากทั้งผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้เห็นความทุกข์และภาระที่ พวกเขาต้องต้องแบกรับ การปล่อยให้กลไกตลาดได้ทำงาน ได้ขายไข่ไก่ที่สะท้อนต้นทุ นการผลิตที่แท้จริง คือทางออกที่เหมาะสมสำหรับคนเลี้ ยงไก่ไข่./
บทความโดย สังวาลย์ สยาม นักวิชาการอิสระ