“บิ๊กป้อม” ระดมทุกหน่วยงานลงพื้นที่จ.อยุธยา ป้องกันน้ำทะเลรุกแม่น้ำเจ้าพระยา เร่งผันน้ำแม่กลองดันค่าความเค็ม มั่นใจคนกรุงไม่กินน้ำประปากร่อย เปิดเทกนิคกระแทกน้ำ ดันลิ่มความเค็ม ใช้ปิดเปิดประตูเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา สอดรับกับประตูน้ำคลองลัดโพธิ์ ตรงจังหวะน้ำทะเลขึ้น-ลง ส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำต้นทุนได้มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้ง
31ม.ค.63/พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามผลการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ณ ที่ว่าการอำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
ต่อจากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมจุดปฏิบัติการผลักดันนำ้ในคลองพระยาบรรลือ และจุดปฏิบัติงานขุดลอกสันดอนคลองพระยาบรรลือ เพื่อให้การผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลอง มาช่วยผลักดันค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา เสริมน้ำอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความห่วงใยปัญหาน้ำเค็มรุกแม่นำ้จ้าพระยา เพราะหากน้ำในแม่น้ำมีค่า ความเค็มเกินเกณฑ์มาตรฐานก็จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพนำ้ที่ประชาชนใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค อุตสาหกรรม และการผลิตน้ำประปาอีก
อย่างไรก็ดี วันนี้จึงได้เดินทางลงพื้นที่มาติดตามสถานการณ์ด้วยตนเองอย่างใกล้ชิด ได้สั่งการให้กรมชลประทานร่วมกับการประปานครหลวง (กปน.) เพิ่มการผันนำ้จากลุ่มนำ้แม่กลอง สนับสนุนการผลักดันน้ำเค็มใน แม่นำ้เจ้าพระยาตอนล่าง และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามสถานการณ์ และวางแผนจัดสรรนำ้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภค บริโภค และที่สำคัญ ขอให้ทุกหน่วยงาน บูรณาการการทำงานร่วมกัน ภายใต้การขับเคลื่อนของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)
รองนายกฯ กล่าวว่า นอกจากจะมีการระบายนำ้จาก 4 เขื่อนหลักตอนบน(เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย ป่าสักฯ)ยังใช้การผันนำ้จากลุ่มนำ้แม่น้ำแม่กลอง มาช่วยเหลือในพื้นที่ของแม่น้ำเจ้าพระยา 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1) คลองท่าสาร-บางปลา 2) คลองจรเข้ สามพัน ไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน เข้าสู่คลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล โดยกรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ และเครื่องสูบน้ำ จำนวน 102 เครื่อง เพื่อเร่งผันน้ำให้ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และ 3) คลองประปา เข้าคลอง บางกอกน้อย และไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มาตรการในการผันน้ำนี้จะด้าเนินการร่วมกับมาตรการอื่น ๆ ในการแก้ไข ปัญหาค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างด้วยการบริหารจัดการอาคารชลประทานให้สัมพันธ์กับช่วยเวลาน้ำขึ้น น้ำลง โดยหน่วงน้ำในพื้นที่ด้านบนบริเวณหน้าเขื่อนทดน้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทด้วยการบริหารปิด/เปิดบานระบายให้สัมพันธ์กับช่วงเวลาน้ำขึ้น – น้ำลง สอดคล้องการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ด้านท้ายแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจะปิดประตูระบายน้ำในช่วงเวลาน้ำขึ้น เพื่อไม่ให้น้ำเค็มรุกเข้า มาในแม่น้ำและจะเปิดบานระบายน้ำในช่วงเวลาน้ำลงเพื่อเร่งระบายน้ำหรือการกระแทกน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาให้ไล่ น้ำเค็มออกสู่ทะเลโดยเร็วอีกด้วย เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพผ่านพ้นภัยแล้งโดยต้องไม่เสียน้ำต้นทุน ให้ลงทะเลไปมาก
ขณะที่นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์ค่าความเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า จากสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลุ่มเจ้าพระยามีปริมาณลดน้อยตามลงไปด้วย ประกอบกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุน จึงส่งผลให้เกิดค่าความเค็มในน้ำเพิ่มสูงขึ้น กรมชลประทาน จึงได้วางมาตรการในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อผลักดันค่าความเค็มลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วยการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักเพิ่มเติม รวมกันประมาณวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. และควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 80 ลบ.ม.ต่อวินาที และเขื่อนพระรามหกอีกประมาณ 6 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อผลักดันค่าความเค็ม รวมทั้งทำการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง ช่วงฤดูแล้ง ระหว่างเดือนพ.ย.62ถึง เม.ย.63 ปริมาณ 500 ล้านลบ.ม.และเผื่อกรณีฝนทิ้งช่วงเดือนพ.ค.ถึง ก.ค.63 อีกกว่า 300 ล้านลบ.ม.ผ่านแม่น้ำท่าจีนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านทางคลองพระยาบันลือประมาณ 27 ลบ.ม.ต่อวินาที และคลองพระพิมลประมาณ 19 ลบ.ม.ต่อวินาที พร้อมกับติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำในคลองพระยาบันลือและคลองพระพิมลรวม 102 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไปไล่ความเค็มไม่ให้รุกเข้าไปทางตอนบน
นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังได้ดำเนินการขุดลอดตะกอนในคลองพระยาบันลือ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่รับมาจากแม่น้ำท่าจีน ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ความเค็มรุกล้ำเข้าไปถึงพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะบริเวณโรงสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ที่เป็นจุด สูบน้ำดิบของการประปานครหลวง อีกทางหนึ่งด้วย
ปัจจุบัน(31 ม.ค.63) จุดเฝ้าระวังและควบคุมความเค็มแม่น้ำเจ้าพระยาที่โรงสูบน้ำดิบสำแลของการประปานครหลวง จ.ปทุมธานี ตรวจวัดค่าความเค็มได้ 0.17 กรัม/ลิตร (เกณฑ์เฝ้าระวัง 0.25 กรัม/ลิตร มาตรฐานเพื่อการผลิตประปาไม่เกิน 0.50 กรัม/ลิตร)
ส่วนที่ลุ่มน้ำท่าจีน บริเวณปากคลองจินดา ตรวจวัดค่าความเค็มได้ 0.22 กรัม/ลิตร(เกณฑ์เฝ้าระวังสำหรับกล้วยไม้ 0.75 กรัม/ลิตร) และลุ่มน้ำแม่กลอง บริเวณปากคลองดำเนินสะดวก ตรวจวัดค่าความเค็มได้ 0.15 กรัม/ลิตร สถานการณ์ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามภาวการณ์ขึ้นลงของน้ำทะเล
ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเฝ้าระวังติดตามคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กระทบต่อน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปาบริเวณโรงสูบน้ำดิบสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ผลิตน้ำประปาให้กับกรุงเทพฯและปริมณฑล จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมใจกันใช้น้ำตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การควบคุมค่าความเค็มเกิดประสิทธิภาพและลดการสูญเสียน้ำโดยปล่าวประโยชน์ให้มากที่สุด
ด้านนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ กล่าวว่าในช่วงวันที่ 24-31 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาที่เกิดน้ำทะเลหนุน สูง ผลการดำเนินการตามมาตราการข้างต้นร่วมกับการทดลองใช้ปฏิบัติการกระแทกลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา (Water Hammer Operation) โดยกรมชลประทานร่วมกับการประปานครหลวง (กปน.) พบว่า เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2563 ซึ่งเกิดน้ำทะเลหนุนสูงสุด ลิ่มความเค็มอยู่บริเวณวัดตลาดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ห่างจาก สถานีสูบน้ำสำแลของการประปานครหลวงลงมาประมาณ 11 กิโลเมตร และจากการตรวจวัดค่าความเค็มในแม่น้ำ เจ้าพระยาบริเวณสถานีสูบน้ำสำแล ณ เวลา 07.00 น.มีค่า 0.18 กรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นคุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ (เกณฑ์ควบคุมค่าความเค็มเพื่อการผลิตน้ำประปา อยู่ที่ไม่เกิน 0.5 กรัม/ลิตร และเกณฑ์ควบคุมเพื่อการเกษตร ไม่ เกิน 2 กรัม/ลิตร)
ทั้งนี้ ปฏิบัติการกระแทกลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา (Water Hammer Operation) เป็นวิธีการที่กรม ชลประทานและการประปานครหลวงนำมาทดลองใช้เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำจืดมาใช้ผลักดัน และเจือจางค่าความเค็ม บริเวณสถานีสูบสำแล โดยกำหนดให้โรงสูบน้ำประปาสำแลหยุดสูบเป็น เวลา 2 ชั่วโมง ในช่วงเวลาน้ำลงเพื่อจะได้มี ปริมาณน้ำจืดที่มากพอสำหรับผลักดันลิ่มความเค็มให้เคลื่อนตัวไปให้ไกลจากสถานีสูบน้ำสำแล โดยมีการปฏิบัติการ แล้ว 3 ครั้งในช่วงระหว่างวันที่ 25-26 ธันวาคม 2562 วันที่ 9-13 มกราคม 2563 และวันที่ 24-27 มกราคม 2563 ทั้งนี้ กองอำนวยการนำแห่งชาติยังคงเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาจะดำเนินทุกมาตรการอย่าง ต่อเนื่องตลอดช่วงฤดูแล้งเพื่อให้ประชาชนมีน้ำ/ อุปโภคบริโภคที่ปลอดภัย