‘พระอจนะ‘วัดศรีชุมสุโขทัยตำนานพระพุทธพูดได้ อายุ 700 ปี

พระพุทธ​รูปปาง​มารวิชัย​”พระอจนะ”

ตำนานพระพุทธ​พูด​ได้​ พระสุรเสียง​แห่งขวัญ​กำลังใจ​ นาม”พระอจนะ” ลือเลื่อง​ความศักดิ์สิทธิ์​มีมนต์​เสน่ห์​ อายุ 700 ปี

“พระอจนะ” พระพุทธ​รูป​ปาง​มารวิชัย​ ขัดสมาธิราบ​ เป็นวัสดุ​ปูนปั้น​ แกนในอิฐและศิลาแลง​ หน้าตัก​กว้าง​ 11.30 เมตร​ สูง15​ เมตร​ เป็น​ศิลปะ​แบบ​สุโขทัย​ เป็น​พระประธานองค์​ใหญ่​ประดิษฐาน​อยู่ในมณฑป” วัดศรีชุม”

ปัจจุบัน​ยอดพระมณฑปได้พังทลายลงไปตามกาลเวลา​ เหลือแต่เพียงผนัง​กำแพง​โดยรอบ​ ไม่มีหลังคาปกคลุม​ เป็น​พระ​พุทธ​รูปกลาง​แจ้ง​ เป็น​ศาสนโบราณ​อยู่ใน​เขต”อุทยาน​ประวัติศาสตร์​สุโขทัย​ ตั้ง​อยู่​ทาง​ทิศ​ตะวันตก​เฉียงเหนือ​นอกกำแพงเมือง​เดิม​ในตำบลเมืองเก่า​ อำเภอเมือง​สุโขทัย​ จังหวัดสุโขทัย

วัดศรี​ชุม​ ศาสนโบราณ​ อุทยาน​ประวัติศาสตร์​สุโขทัย​

“วัดศรี​ชุม​”เป็น​โบราณ​สถาน​ สันนิษฐาน​ว่าสร้าง​ในสมัย” พ่อขุน​ราม​คำแหง”ในวัดปรากฏ​โบราณ​สถานขนาดใหญ่​ลักษณะ​มณฑปสี่เหลี่ยม​จตุรัส​ สันนิษฐาน​ว่าในอดีต​ตัวมณฑป​น่า​จะมีหลังคา​คล้าย​โดม​ ตัว​มณฑป​ตั้ง​อยู่​บน​ฐาน​สูง​ ด้าน​หน้า​เปิดเป็นช่องเห็น​พระ​พักตร์​พระ​พุทธ​รูป​งดงาม​แต่​ไกล

พระมณฑป​วัดศรีชุม​ มองเห็น”พระ​อ​จ​นะ”

สำหรับตัวโบราณ​สถานประกอบด้วย​อาคาร ​2 หลัง​ หลังแรกเป็นมณฑป​รูปสี่เหลี่ยม​กว้าง 32 คูณ​ 32​ เมตร สูง 15 เมตร​ ภายในประดิษฐาน​พระพุทธรูป​นามว่า”พระอจนะ” ใน​ด้าน​หน้า​ เป็น​พระ​วิหาร​หลวง​มี 6 ห้อง​ ปรากฏ​ในศิลาจารึก​ว่า​”เบื่องตีน​นอน” อยู่​ทาง​ทิศ​เหนือจะมี​พระพุทธ​รูป​ใหญ่​”เบื้องหัว​นอน” จะ​อยู่​ทาง​ทิศ​ใต้​ สมัย​พ่อ​ขุน​รามคำแหงโปรด​ให้สร้าง​มณฑป​ครอบพระ​พุทธ​รูปไว้​ และในสมัยพระ​เจ้าลิไทโปรดโปรด​ให้​ก่อผนัง​ใหม่​อีกข้างให้ห่างจาก​ผนังเดิม 1 เมตร 50 ซ.ม.​ โดยช่องว่าง​ให้ทำบันได​ ทำอุโมงค์​ขึ้นไปด้านหลัง​องค์​พระ​ ผนังของอุโมงค์​นี้โปรด​ให้​แกะ​หิน​ชนวนจาก​เจดีย์​เก้ายอดที่วัดมหาธาตุ​ที่แกะสลัก​เป็น​เรื่องราวชาดก 550 พระชาติ​ และในส่วน​ที่แกะหินชนวนโปรดให้สร้างพระสาวกปาง​ลีลา​ กระทำอัญชลีขึ้น​แทนในการสร้างมณฑป​ที่มีผนัง 2 ชั้นได้รับอิทธิพล​ศิลปะ​โปโลนนารวะของศรีลังกา​ ซึ่ง​แพร่​หลายมากในสมัยปรกมพาหุ ในสมัยพ่อขุน​ราม​คำแหงนิยมสร้าง​พระอัฏฐารส​ และ​พญา​ลิไทนิยมสร้างพระสาวกลีลา

ต่อมาในสมัยอยุธยา​ ครั้ง​สมเด็จ​บาท​สมเด็จ​พระ​นเรศวร​มหาราช​ ประกาศ​อิสรภาพ​ในปี​พ.ศ.2127 ที่​เมือง​แครง​ทำให้หัวเมือง​ต่าง​ๆ​ ยกเลิกการส่งส่วย​ให้กับพม่า​ แต่​ยังมีเมือง​เชลียง​(สวรรคโลก)​ที่ไม่ยอมทำตามพระราชโองการของพระองค์​ พระ​องค์​จึงนำทัพเสด็จ​ปราบ​เมือง​เชลียง​ และ​ได้​มี​การ​ชุมนุม​ทัพที่วัดศรีชุมแห่งนี้ก่อนที่​จะ​ไปตีเมือง​เชลียง​และการรบครั้ง​นี้เป็นการรบระหว่าง​คนไทยด้วยกัน​ ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใน​การ​รบไม่อยากรบ​ สมเด็จพระนเรศวร​จึง​ได้​วางแผน​สร้าง​กำลัง​ใจ​ให้​กับ​ทหาร​โดย​การ​ให้​ทหาร​คน​หนึ่ง​ปี​นบันได​ขั้น​ไปทางด้านหลัง​ของ​องค์​พระ​ และพูดให้กำลัง​ใจ​แก่​เหล่า​ทหาร​ ทำให้​เกิด​กำลัง​ใจ​ที่จะต่อสู้​ ด้วย​เหตุ​นี้​จึง​ทำให้เกิด”ตำนานพระพูดได้” ที่วัดศรีชุมแห่งนี้​ และพระ​นเรศวร​ยังได้ทรงประกอบ”พิธีศรีสัจจะปานะการ” (พิธีถือน้ำพิพัฒน์​สัตยา)​ วัดแห่งนี้ได้มี​การ​บูรณะ​ปฏิสังขรณ์​ครั้ง​ใหญ่​ในสมัยพระ​เจ้าลิไท​ และ​มีการบูรณะเรื่อย​มา​ สันนิษฐาน​ว่าวัดได้ถูกทิ้งร้างในสมัยอยุธยา​ตอนปลายจนกระทั่ง​ในสมัยรัชกาล​ที่​9​ ได้มีโครงการ​บูรณะ​ปฏิสังขรณ์​ใน​ปี​ พ.ศ.​2485 โดยการบูรณะพระพุทธ​อจนะ​ โดยศาสตราจารย์​ศิลป์​ พีระศรี​ และ​อาจารย์​เขียน​ ยิ้มสิริ

“พระอจนะ” พระพุทธ​รูป​ที่​เลื่องลือ​ถึงความศักดิ์สิทธิ์​

วัดศรีชุม​ หนึ่ง​ในโบราณ​สถาน​ คำว่า”ศรี​ชุม” มาจาก​”สะหลีชุม” คำว่า​”สะหลี” เป็นคำโบราณ​หมายถึง”ต้นโพธิ์” ต่อมาได้เรียกขานเป็น”ศรี” คำว่า”ศรี​ชุม” จึงหมายถึง​ ดงต้นโพธิ์​สันนิษฐาน​ว่าสร้าง​ในสมัยพ่อขุน​ราม​คำแหง​โดย​ปรากฏ​อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า”เบื้องตีนนอนเมือง​สุโขทัย​มีตลาด​ปสาน​ มีพระอจนะ​ มีปราสาท​ มีป่าหมากพร้าว​ ป่าหมากกลาง​ มีไร่​ มีนา มี​ถิ่นถาน​ มีบ้าน​ใหญ่​บ้าน​เล็ก”นามของ”พระอจนะ”ในภาษาบาลีว่า”อจนะ” แปลว่า​ ผู้ไม่หวั่นไหว​ มั่นคง​ หรือ​ ผู้ที่​ควรแก่​การ​เคารพ​กราบไหว้​มีพุทธลักษณะ​งดงาม​ พระวรกายอวบอิ่ม​ พระพักตร์​แฝงด้วยรอยยิ้ม​และ​ความ​เมตตา​ สะท้อนให้เห็นว่าช่าง​ผู้รังสรรค์​พุทธ​ศิลป์​ สร้าง​ด้วย​ความศรัทธา​ เป็น​งาน​พุทธ​ศิลป์​ที่​สง่างามและสมบูรณ์แบบ​ที่​สุดยุคหนึ่ง​แตกต่าง​จากช่วง​สมัยอื่น​ๆ

ต้นมะม่วงยืนต้นตระหง่าน​อยู่คู่กับวัดศรี​ชุม​

พระอจนะ​ แต่อดีตสู่ปัจจุบัน​มีความเชื่อมาแต่โบราณไปทำบุญ​ ทำกุศล​ เสริม​สิริ​มงคล​ อธิฐาน​ขอพรให้กับชีวิต​ ขอพรให้​มีจิตใจที่แน่วแน่​ มุ่ง​ทำการสิ่งใด​ๆก็สำเร็จ มีความเมตตา​ และความสุข

เรื่อง​/ภาพ​ โดย​ พรหม​พิริยะ​ จันทร์​เพ็ญ