บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ สานต่อโครงการ “กล้าจากป่า พนาในเมือง” เข้าสู่ปีที่ 2 สร้างการมีส่วนร่วมของพนั กงานลงมือทำเพื่อสร้างความยั่ งยืน กระจายกล้าไม้ 2 หมื่นกล้า ทั้งไม้ยืนต้นและพืชสวนครัว แจกพนักงานทั่วประเทศปลูกบริ เวณที่อยู่อาศั ยและสถานประกอบการ ช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และร่วมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสั งคมและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่ งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯดำเนินโครงการกล้าจากป่ า พนาในเมือง (Forest in the City) เข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมภายใต้เป้ าหมายความยั่งยืน “CPF Sustainability in Action ยั่งยืนได้ด้วยมือเรา” ที่เน้นการมีส่วนร่วมของพนั กงานร่วมสร้างความยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมการปลูกต้นไม้ บริเวณที่อยู่อาศั ยและสถานประกอบการ สนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรื อนกระจกในระดับครัวเรือน ซึ่งหลังจากเปิดตัวกิจกรรมดั งกล่าวในปีแรก กระจายกล้าไม้เพื่อปลูกได้ มากกว่า 27,000 ต้น และในปีนี้ มีแผนที่จะกระจายกล้าไม้ให้พนั กงานอีก 20,000 ต้น
“โครงการ กล้าจากป่า พนาในเมือง มีจุดเริ่มต้นที่พนักงานในองค์ กรลงมือทำ และส่งต่อโครงการดีๆ สู่คนรอบข้าง ครอบครัว รวมไปถึงความร่วมมือกับหน่ วยงานภายนอก ที่สามารถนำรูปแบบไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการสร้างความร่วมมื อของภาคประชาชน เพื่อร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี และยังเป็นโครงการฯที่สอดคล้ องกับเป้าหมายความยั่งยื นของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ทั้งการรับมือกับการเปลี่ ยนแปลงสภาพภูมิอกาศ (ข้อ 13) และการใช้ประโยชน์จากระบบนิ เวศทางบก (ข้อ 15) ” นายวุฒิชัย กล่าว
ซีพีเอฟ ยังได้ขยายผลของโครงการฯ โดยร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ทำโครงการ “กล้าจากป่า พนาในเมือง (กทม.) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมส่งเสริ มให้ชาวกรุงเทพมหานครปลูกต้นไม้ จำนวน 1 แสนต้น โดยซีพีเอฟจะสนับสนุนกล้าไม้ ในส่วนดังกล่าวเพื่อให้ ประชาชนนำไปปลูก และอีกส่วนหนึ่ง บริษัทฯจะช่วยหาไม้ยืนต้นที่มี คุณลักษณะที่เหมาะสมและสวยงาม เพื่อปรับภูมิทัศน์ขอถนนสีลมให้ เป็นต้นแบบถนนสีเขียว ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และผลกระทบจากโลกร้อน
โครงการ “กล้าจากป่า พนาในเมือง” เป็นโครงการระยะ 5 ปี ( ปี 2564-2568) ที่ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่ วมปลูกต้นไม้ 100,000 ต้น โดยต้นทางของกล้าไม้มาจากพื้นที่ โครงการ ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี และ โครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ได้คัดเลือกชนิดของพันธุ์ไม้ที่ เหมาะสมและเป็นพันธุ์ไม้ที่มีค่ าทางเศรษฐกิจ อาทิ ต้นพะยูง ต้นประดู่ป่า ต้นมะค่าโมง ต้นกันเกรา ต้นยางนา เป็นต้น พร้อมกับการนำต้นกล้าที่ได้รั บการดูแลกล้าไม้ให้แข็งแกร่ งโดยชุมชน มาแจกจ่ายต่อพนักงานเพื่ อนำไปปลูก เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่ วนร่วมในการรักษาป่าและมีรายได้ จากการเพาะพันธุ์กล้าไม้ รวมทั้ง บริษัทฯ ยังได้พัฒนาระบบการลงทะเบียนรั บกล้าไม้ บันทึกข้อมูลการปลูกและการเติ บโตของต้นไม้ เพื่อประเมินการดูดซับคาร์ บอนไดออกไซด์ ซึ่งภายใต้แผน 5 ปี คาดว่าจะสามารถดูดซับคาร์ บอนไดออกไซด์ได้รวม 2,850 ตันคาร์บอนไดออกไซด์
ทั้งนี้ ซีพีเอฟเปิดให้พนักงานลงทะเบี ยนขอรับกล้าไม้ ในระบบ LINE OA ผ่าน QR Code ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม -4 กันยายน 2565 โดยได้กระจายกล้าไม้ไปเมื่อวั นที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา กำหนดจุดกระจายกล้าไม้ 6 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกให้พนั กงานในการรับกล้าไม้ไปปลูก คือ อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ สีลม โครงการเขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี ฟาร์มบ้านธาตุ อ. แก่งคอย จ. สระบุรี ศูนย์การเรียนรู้สีคิ้ว จ.นครราชสีมา โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านบึง จ.ชลบุรี และ โครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน จ.ระยอง ./