18ก.พ.63/นางกันตวรรณ ตันเถียร ประธานคณะกรรมาธิการเป็นประธานในที่ประชุมได้ประชุมพิจารณาศึกษาความเหมาะสมและเหตุผลความจำเป็นในการจัดตั้งกระทรวงการข้าว โดยที่ผ่านมามีการประชุมคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ตามญัตติ เรื่อง “ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาโครงการจัดตั้งกระทรวงการข้าว” ตามที่สภามอบหมาย โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาให้ข้อมูล สรุปสาระสำคัญดังนี้
กรมการข้าวได้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรก เมื่อปี2496 และต่อมาในปี พ.ศ. 2515 กรมการข้าวได้ยุบรวมกับกรมกสิกรรม และเหลือเพียงกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น โดยต่อมาเป็นระยะเวลา 34 ปี ได้ก่อตั้งกรมการข้าวขึ้นอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยมีอานาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงหลายประการเช่น ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะ และจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวของประเทศ รวมทั้ง ดำเนินการเกี่ยวกับความร่วมมือกับต่างประเทศในเรื่องข้าว ดำเนินการผลิตและส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาระบบ การจัดการสินค้าข้าว การแปรรูปข้าว และผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการค้าข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อตลาดเฉพาะ เป็นต้น
สำหรับโครงสร้างของหน่วยงาน ประกอบด้วย 12 สำนัก/กอง/กลุ่ม/สถาบัน/ศูนย์ 27 ศูนย์วิจัย 30 ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว และมีกรอบอัตรากาลัง ประกอบด้วย ข้าราชการ 956 ราย พนักงานราชการ 555 ราย ลูกจ้าง 543 ราย
นางกันตวรรณ กล่าวว่าปัญหาการดำเนินงานเรื่องข้าว คือ ชาวนามีความเสี่ยงสูงและขาดหลักประกัน องค์กรชาวนาอ่อนแอ องค์กรภาครัฐยังไม่มีความพร้อม ขีดความสามารถในการค้าข้าวลดลง และการผลิตข้าวมีประสิทธิภาพต่ำ แนวทางการปฏิรูปข้าวอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย น้อมนำศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง ปฏิรูปชาวนาและองค์กรชาวนา ปฏิรูประบบการผลิต ปฏิรูปการตลาดข้าว ปฏิรูปกลไกขับเคลื่อนภาครัฐ
ทั้งนี้การปฏิรูปกลไกการขับเคลื่อนภาครัฐ ควรดำเนินการ ดังนี้
1. ปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวแห่งชาติ (นบข.) โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียครบทุกภาคส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการ เพื่อให้เป็นหน่วยงานกลางในการวางแผนระยะปานกลางและระยะยาวในการพัฒนาชาวนา พัฒนาข้าวและผลิตภัณฑ์ และเป็นหน่วยงานเดียวที่ประกาศข้อมูลผลผลิตและสต็อกข้าวอย่างเป็นทางการ รวมถึงกากับสอดส่องดูแลการเอารัดเอาเปรียบในการผลิตและการค้าข้าว
2.ปรับโครงสร้างและภารกิจของกรมการข้าว โดยการจัดตั้งสถาบันวิจัยข้าวแห่งชาติ เพื่อวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เชิงลึก วิจัยเชิงประยุกต์ ศูนย์บ่มเพาะ (Incubator) ศูนย์ฝึกอบรมนานาชาติ อุทยานวิทยาศาสตร์ข้าว (Rice Science Park) และจัดตั้งสานักงานข้าวจังหวัด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชาวนาและพัฒนาองค์กรชาวนา ป้องกันเฝ้าระวังควบคุมและกาจัดโรคและแมลงศัตรูข้าวระบาด ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว และมาตรฐานโรงสีในพื้นที่ ติดตามและควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและปัจจัยการผลิตในพื้นที่ ส่งเสริมการตลาดข้าวเฉพาะที่พัฒนาขึ้นใหม่ในท้องถิ่นที่ยังไม่มีตลาดรองรับ
นอกจากนี้ แนวทางการขับเคลื่อนเรื่องข้าวอย่างยั่งยืน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรมีการปรับโครงสร้างการดำเนินงานโดยพิจารณาความเชี่ยวชาญให้สอดคล้องกับภารกิจ อาทิ กรมการข้าวต้องมีความเชี่ยวชาญในการผลิต แปรรูป และการค้าข้าว
นางกันตวรรณ กล่าวว่า ควรมีการออกกฎหมายเพื่อดูแลเรื่องข้าว รวมถึงควรนำระบบผลประโยชน์แบ่งปันมาใช้ เพื่อแก้ไขเชิงโครงสร้าง ต้นทุน-กำไรของห่วงโซ่ข้าว โดยจะทำให้เกษตรกรชาวนา โรงสี และผู้ประกอบการข้าวมีผลกาไรที่เหมาะสมและเป็นธรรม
ที่สำคัญ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมาธิการ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 96 เพื่อพิจารณาศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งกระทรวงการข้าว
จรัญ ชุ่มเงิน รายงาน